จีนกับความพยายามในการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ : เส้นทางสายไหมและทิศทางนโยบายเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศของไทย

Authors

  • ณัฐพงศ์ สุวรรณอินทร์

Keywords:

เส้นทางสายไหม, ระเบียบเศรษฐกิจโลก, ทีพีพี, อาเซป, นโยบายเศรษฐกิจไทย

Abstract

          แม้การพัฒนาของเศรษฐกิจจีนในช่วง 3 ทศวรรษหลังการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจ แบบตลาด ในปี พ.ศ. 2521 ที่มีรัฐบาลจีนเป็นหัวหอกในการวางแผนกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจจะมีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราประมาณร้อยละ 10 เรื่อยมาจนปี พ.ศ. 2557 แต่ผลจากความสำเร็จนั้นในอีกแง่หนึ่งได้ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนเจริญเติบโตอย่างไม่สมดุล ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจในเชิงโครงสร้างส่งผลกระทบต่อปัญหาการพัฒนาอย่างยั่งยืนของจีนในปัจจุบันภายใต้สถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวภายใต้กรอบและระบบการค้าระหว่างประเทศที่มีประเทศพัฒนาแล้วเป็นผู้กำหนดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง          จีนกับบทบาทการค้าโลกในปี พ.ศ. 2559 ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้กำหนดแนวทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน (China Factors) จีนภายใต้การนำของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้พยายามแก้ไขปัญหาที่สั่งสมมาด้วยมาตรการต่าง ๆ หนึ่งในมาตรการการแก้ไขปัญหานั้นคือนโยบายเส้นทางสายไหมใหม่ที่มุ่งเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจโลกปัจจุบันที่รวมถึงระบบการค้าและการเงินระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาของเศรษฐกิจจีนอย่างยั่งยืนในอนาคต          ภายใต้บริบทของการแผ่ขยายอำนาจทางเศรษฐกิจของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการเพิ่มจำนวนกรอบความร่วมมือของกรอบการค้าเสรีสหรัฐอเมริกาอย่างมีนัยยะสำคัญและของจีนเองในภูมิภาคที่รวมถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิคหรือทีพีพีและความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรืออาเซป ประเทศไทยในฐานะสมาชิกหนึ่งของอาเซียนควรมีนโยบายทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างไรต่อความกดดันทางเศรษฐกิจและการเมืองเพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติ?            Though China’s economy has been developed fast in the last three decades as the result of economic reforms in the country, from socialist economy to market economy in 1978 that caused a big jump of its development growth for about ten percent annually until 2014, China has at the same time encountered the problem of its unsteady and unbalanced development. It causes problems in economic structure that would lead China to unsustainability in the time of global economic recession under the umbrella of the world economic order previously initiated by developed countries after since the Word War II.          China, in 2016, now becomes a key player and ruler in global economy because of “China Factors”. Being led by President Xi Jin-Ping, China has initiated a number of approaches to handle the problems. One of important state’s measures is the “New Silk Road” policy that is aimed to solve unfair treatment problem in world trade and monetary systems to secure its sustainability in China’s economic development.          Where China tends to expand its economic influence in ASEAN being observed through its regional cooperation such as the Regional Comprehensive Economic Partnership or RCEP and United States’ attempts in reserving its mandate in the region via various trade agreements including the Trans-Pacific Partnership Agreement or TPP, under economic and political pressure from such the bipolar, significant question is that how Thailand should come up with a state’s policy in response to the trend and positions itself towards ASEAN for the best of national interest under economic and political pressure?

Downloads