รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ : ความพยายามในการยกระดับธรรมาภิบาล

Authors

  • Nuttakrit Powintara

Keywords:

รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์, ธรรมาภิบาล, สิทธิ, ระบอบการปกครอง, นโยบาย, 2SLS

Abstract

          เนื่องจากมีความเห็นต่างที่หลากหลายในหมู่ของนักวิชาการว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ช่วยส่งเสริมให้ระดับของธรรมาภิบาลของประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้จริงหรือไม่ งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งหาคำตอบว่าความเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในเชิงเทคนิคเพียงอย่างเดียวนั้น สามารถยกระดับความมีธรรมาภิบาลของประเทศได้หรือไม่ หากไม่แล้ว อะไรคือองค์ประกอบที่สำคัญที่สามารถเพิ่มโอกาสให้ความเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สามารถยกระดับความมีธรรมาภิบาลได้ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นดำเนินการโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณทั้งในส่วนของการใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ทำการวิเคราะห์จากข้อมูลจากหน่วยวิเคราะห์คือ 138 ประเทศจากทั่วโลก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ โดยหลังจากที่ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากหลากวิธี รวมถึงในการวิเคราะห์ข้อมูลจากสมการหลักโดยใช้เทคนิค Ordinary Least Squares (OLS) และเทคนิค Two-Stage Least Squares (2SLS) แล้วพบว่าการดำเนินนโยบายด้านการพัฒนาระบบของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของการเพิ่มระดับความมีธรรมาภิบาลของประเทศได้ อย่างไรก็ตาม ตัวแปรเครื่องมือที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นทั้งก่อนและระหว่างการดำเนินการพัฒนาระดับของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยตัวแปรเครื่องมือดังกล่าวประกอบไปด้วย สภาพเศรษฐกิจของประเทศ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ขีดความสามารถในการบริหารงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการรักษาความปลอดภัยของระบบ ยิ่งไปกว่านั้น ผลการวิจัยยังพบอีกว่ามีการสมาสกันของอิทธิพลของการพัฒนาระบบของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กับสิทธิขั้นพื้นฐานของสังคมที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม ซึ่งก็คือ ระดับของความมีธรรมาภิบาลอีกด้วย โดยอิทธิพลที่สมาสกันนี้ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญในทิศทางบวกต่อระดับของตัวแปรตาม นอกจากนี้แล้วยังพบอีกว่า ประเภทของระบอบการปกครองของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับของความมีธรรมาภิบาลที่เปลี่ยนแปลงโดยระดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกันออกไป โดยกำหนดให้ตัวแปรควบคุมคงที่ กล่าวคือ ประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในระดับสูงนั้น การเพิ่มขึ้นของระดับความมีธรรมาภิบาล อันเนื่องมาจากการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์จะสูงกว่าประเทศที่เหลือในโลกอย่างมีนัยสำคัญ            There is the discrepancy among scholars whether electronic government is the key influence to attain the higher level of governance for the country worldwide. This research aimed to replicate on questions regarding to whether solely electronic government system can improve the governance or not. If not solely, what the other predictors are. Data analysis in this research is quantitative research methods with both descriptive and inferential statistics on 138 countries worldwide as the unit of analysis in the data retrieved from various reliable sources. After analyzing data via ordinary least squares estimation and two-stage least squares estimation, this research finds that solely implementing electronic government cannot achieve the goal of increasing level of governance; nevertheless, other instruments must be incorporate into the electronic government development as the pre-condition of the system as well. These instrumental variables include economic conditions, human resource management, capacity in administration, and safety of the system. Also, there is a covariation between electronic government development and fundamental rights of the society, as control variable in this regard, on level of governance as the dependent variable, which in turn having the positive impacts on the higher level of the governance. Finally, political regime type as the dummy variable explains the different between level of governance after considering these two predictors, electronic government development and fundamental rights of the society that full democratic countries tend to have higher governance level comparing with other regime types including (i) flawed democracy, (ii) hybrid regime, and (iii) authoritarian regime at the same level of electronic government development.

Downloads