กระบวนการสร้างประชาธิปไตยและการสร้างความปรองดองในประเทศชิลี

Authors

  • ศิวัช ศรีโภคางกุล

Keywords:

การเปลี่ยนผ่าน, กระบวนการ, ประชาธิปไตย, ความปรองดอง, ประเทศชิลี

Abstract

          ภายใต้ระบอบเผด็จการทหารของประธานาธิบดี นายพลออกุสโต ปิโนเชต์ ได้ก่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในระหว่างปี ค.ศ. 1973-1978 ประชาชนชาวชิลีมากกว่า 3,000 คน ถูกฆาตกรรมและถูกทำให้สูญหาย ซึ่งเกิดจากการกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐแทบทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามก่อนเขาลงจากอำนาจ เขาได้ออกกฎหมายจำนวนมากเพื่อป้องกันมิให้รัฐบาลใหม่เข้ามาสืบสวนการกระทำในอดีตของเขา บทความนี้ผู้เขียนได้ตั้งคำถามว่าในเมื่อวงวิชาการด้านการสร้างประชาธิปไตยและการสร้างความปรองดองทั่วโลก ต่างพิจารณาว่าประเทศชิลีและอาร์เจนตินา ถือเป็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในกระบวนการดังกล่าว ดังนั้น ผู้เขียนจึงพยายามศึกษาเรื่องราวการสร้างประชาธิปไตยและการสร้างความปรองดองในประเทศชิลี ผู้เขียนมีข้อถกเถียงว่า ปัจจัยที่ทำให้ประเทศชิลีประสบความสำเร็จมาจากความกล้าหาญของผู้นำพลเรือนภายหลังการเปลี่ยนผ่าน การปฏิรูปภาคส่วนความมั่นคงการอาศัยความยุติธรรมระหว่างประเทศและความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาธิปไตยและการสร้างความปรองดองของประเทศชิลีบรรลุผลได้ระดับหนึ่ง            Under Augusto Pinochet regime, Chile was under the military dictatorship. The human rights were severely abused especially during 1973-1978. It was reported that 3,000 people were killed and disappeared which committed by state agents. However, before leaving his position, Pinochet enacted many laws to prevent himself from being prosecuted from the new government. In this article, the author proposed the question on the premise that many democratization and reconciliation scholars always considered that Chile and Argentina as successful cases. The author therefore analyzed democratization and reconciliation in Chile. The author argues that the factors contributing to the successful procedures were the courage of civilian leader after transition, the security sector reform, clinging on international justice, and the strength of civil society. These were all key factors for the success of democratization and reconciliation in Chile.

Downloads