การพัฒนาขีดความสามารถทางการค้าการลงทุนเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อชุมชนและท้องถิ่นไทย

Authors

  • รัชยา ภักดีจิตต์
  • อิทธิกร ขำเดช
  • เอก ชุณหชัชชราชัย

Keywords:

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, ขีดความสามารถ, การค้าการลงทุน, อุตสาหกรรมขนาดกลาง, อุตสาหกรรมขนาดย่อม, ชุมชนและท้องถิ่นไทย

Abstract

          การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างขีดความสามารถทางการค้า การลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อชุมชน และท้องถิ่นไทย โดยศึกษาศักยภาพและโอกาส ทางการค้า การลงทุน รวมถึงศึกษาบทบาทของภาครัฐ และภาคเอกชนในการพัฒนาธุรกิจ การศึกษาครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อชุมชนและท้องถิ่นไทยที่อยู่ในความดูแลของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพัฒนา (Research and Development) เป็นการศึกษาภาคสนาม วิธีการวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบการวิเคราะห์เชิงบรรยาย (Descriptive Analysis) การวิจัยเชิงปริมาณโดยการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อชุมชนและท้องถิ่นไทยที่อยู่ในความดูแลของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 การวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้ประกอบการ สัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม คือกลุ่ม ที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มบุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นข้าราชการผู้นำนโยบายไปปฏิบัติที่ดูแลเขตพื้นที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 และการสัมภาษณ์เชิงลึกนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และ SMEs การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา รวมทั้งการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)          ผลการศึกษาพบว่า ศึกษาศักยภาพและโอกาส ทางการค้า การลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำหรับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อชุมชนและท้องถิ่นไทยมีจุดแข็ง คือ การที่ผู้ประกอบการ มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้า มีทักษะความรู้ในการผลิตจากการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่จุดอ่อนคือการขาดความรู้ด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และขาดเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงผู้ประกอบการขาดความรู้ด้านบริหารจัดการ โอกาสของอุตสาหกรรม SMEs เพื่อชุมชนและท้องถิ่นไทย คือ การที่รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบาย ส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรม SMEs เพื่อชุมชนและท้องถิ่นไทย และข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรค คือ การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นและความแตกต่างด้านสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ สำหรับประเด็นปัญหาในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม SMEs เพื่อชุมชนและท้องถิ่นไทยของท่าน ใดแต่ละด้านที่สำคัญ คือ 1) ด้านการตลาด ได้แก่ การขาดความร ู้ด้านการตลาดต่างประเทศ 2) ด้านการผลิต ได้แก่ ขาดความรู้ในการผลิต ขาดความรู้ในการควบคุมคุณภาพการผลิต 3) ด้านทรัพยากรบุคคล ได้แก่ การขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านการบริหารจัดการ การขาดบุคลากรที่มีความสามารถด้านการตลาดต่างประเทศ รวมถึงด้านการใช้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ 4) ด้านการเงินและบัญชี ได้แก่ การขาดเงินทุน 5) ด้านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม ได้แก่ขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมถึงการขาดความรู้และทักษะในการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ การศึกษาบทบาทของภาครัฐ และภาคเอกชนในการพัฒนาธุรกิจ SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อชุมชนและท้องถิ่นไทยในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่สำคัญ คือ 1) การกำหนดนโยบายภาครัฐควรจะมุ่งเน้นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและการเมืองให้มีเสถียรภาพ 2) มีการกำหนดนโยบายในกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อการส่งเสริมศักยภาพและโอกาส ทางการค้าการลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เช่น กระทรวงพาณิชย์ด้านการลงทุนระหว่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นโยบายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม นโยบายด้านการเงินและการคลัง การวางนโยบายการเงินการคลังที่มีเสถียรภาพ การส่งเสริมการลงทุนใน อุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับแผนการพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งระบบภาษีอากรที่ 3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทย การคมนาคม บทบาทของภาคเอกชนที่เป็นปัจจัยหลักของอุตสาหกรรมในเรื่องการบริหารอุตสาหกรรม การตลาดและการพัฒนาฝีมือแรงงาน และการให้ความสำคัญต่อระบบสนับสนุนเพื่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ เช่น บทบาทของภาคเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาคมธนาคาร สมาคมผู้ประกอบการ การรวมกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อการเชื่อมโยงเครือข่ายไปสู่ AEC โดยการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล          รูปแบบการพัฒนาขีดความสามารถทางการค้า การลงทุนเพื่อเข้าสู่ AEC สำหรับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อชุมชนและท้องถิ่นไทยที่สำคัญ คือ 1) แรงขับเคลื่อนทางธุรกิจที่สำคัญจากทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่เกิดจากทั้งในและระหว่างประเทศ 2) กลยุทธ์ธุรกิจองค์การ กลยุทธ์ด้านการตลาด การสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจด้านการลงทุนทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านจากประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน 3) กลยุทธ์ระดับหน้าที่ ได้แก่ ด้านการผลิตสินค้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีการปฏิบัติเพื่อพัฒนาศักยภาพให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล และมีจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา ด้านการตลาด ด้านการเงินและบัญชี และด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3) การสร้างระบบความร่วมมือเครือข่ายกับภาคเอกชน เช่น หอการค้าสมาคม การรวมกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายตลาดภายในและตลาดต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน           The major aim of this research are to develop a model to increase the trading and investment capacity of SMEs entrepreneurs in Thai local communities to prepare for AEC by studying the potential and opportunities in trading and investment for SMEs entrepreneurs in Thai local communities as well as studying the role of the public and private sector in business development. This study is based on the SMEs entrepreneurs in Thai local communities under the supervision of Business Service Center region 6.           This research and development project is a field research and a mixed method of quantitative and qualitative research which includes descriptive study and survey of the attitudes on the business problems, the opinions on the changes after entering AEC of Thailand, and the demand of SMEs entrepreneurs in Thai local communities. Qualitative study includes focus group discussion of SMEs entrepreneurs in Thai local communities, in-depth interview of 3 group of key informants includes SMEs entrepreneurs, public officials from business service center region 6 involved in policy implementation as well as in-depth interview of academicians and experts on AEC and SMEs. The data analysis applied in this study is descriptive statistics and content analysis and Participatory Action Research (PAR)           The findings show that the potential and opportunities of the trading and investment in preparing for AEC of SMEs’ entrepreneurs in Thai local communities are the strengthens of entrepreneurs’ production determination and the skills from local folk wisdom while the weaknesses are the lack of local and international marketing knowledge and the lack of capital as well as the administrative skills. The opportunities of SMEs in Thai local communities is the government supporting policy for SMEs for Thai local communities and the limitation is the strong competition and the cultural and social difference of each country. The major problems for SMEs operations are 1) the lack of international marketing knowledge, 2) the lack of knowledge in production and quality control, 3) the lack of human resources for international marketing, management, and foreign languages such as English, 4) the lack of capital, 5) the lack of latest production technology as well as the knowledge in product development          The major roles of the public sector in the development of SMEs for Thai local communities in preparing for AEC are 1) the focus of public sector policy on the economic and political stability, 2) the specification of the related ministries’ policies policy for the support of the trading and investment potential and opportunities for the preparedness for AEC: such as international investments under ministry of commerce, energy and environment under the ministry of science and technology, as well as fiscal and monetary policy, and 3) the development of Thai economic infrastructure, transportation. The major roles of the private sector are in administration, marketing, workers’ skills development and the networking of the entrepreneurs in industrial, trading and banking associations with the support from the government.          The model for the development of trading and investment capacity of SMEs entrepreneurs for Thai local communities in preparing for AEC are 1) the internal and external economic and social drive, 2) the development of organization strategies, new opportunity and marketing strategies for investment locally and in ASEAN neighboring countries, 3) the development of strategies related to production, technology, and innovation in order to increase the capacity to international standard level and proper environmental management as well as the involvement of local communities in the development of marketing, accounting and finance, and human resources, 3) the building of cooperation among private sector networks such as the chamber of commerce and associations in order to create the networks for local and international markets in ASEAN.

Downloads