การประเมินผลนโยบายภาครัฐด้านทรัพยากรป่าชายเลน ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี
Keywords:
การประเมินผล, ป่าชายเลน, จันทบุรีAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผล การดำเนินงานตามนโยบายภาครัฐ ด้านทรัพยากรป่า ชายเลน ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานตามนโยบายภาครัฐด้านทรัพยากรป่าชายเลน 3) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานตามนโยบายภาครัฐ ด้านทรัพยากรป่าชายเลน ผลการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก พบว่า ระบบและขั้นตอนของการดำเนินนโยบายมีความสำคัญต่อการพัฒนานโยบาย และการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ รวมถึงมีบทบาทในการระงับนโยบายของรัฐด้วย เพราะในบางพื้นที่ที่แตกต่างกันการดำเนินนโยบายที่เหมาะสมกับพื้นที่จะทำให้นโยบายให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากที่สุด ผลการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามพบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นแต่ละด้าน ได้ดังนี้ ด้านบริบท พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นในการดำเนินนโยบายในระดับดีปานกลาง เป็นอันดับที่ 1 ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นในการดำเนินนโยบายในระดับดีปานกลาง เป็นอันดับที่ 2 ด้านกระบวนการ พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นในการดำเนินนโยบายในระดับดีปานกลาง เป็นอันดับที่ 3 และด้านผลผลิต พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นในการดำเนินนโยบายในระดับดีปานกลาง เป็นอันดับที่ 4 ผลการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค พบว่า ยังมีปัญหาและอุปสรรคในหลากหลายมิติ 1) ด้านบุคลากรซึ่งยังขาดแคลนบุคลากร 2) ขาดการประสานงานระหว่างบุคลากร 3) ขาดแคลนงบประมาณ 4) ข้อขัดแย้งระหว่าง ชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ 5) หลายโครงการยังไม่มีความชัดเจนบางนโยบายขาดความต่อเนื่อง 6) ความซับซ้อนในการบังคับใช้กฎหมาย และการดำเนินนโยบาย ผลการวิเคราะห์แนวทางการปรับปรุงนโยบาย พบว่า 1) ควรมีความชัดเจนในการกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ออกมาอย่างเป็นรูปธรรม 2) ควรมีการประชาคมร่วมกับประชาชนในพื้นที่ 3) ควรมีกรอบเวลาที่แน่นอนในการยืดหยุ่นผ่อนผัน การประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับป่าชายเลน 4) ภาครัฐควรมีมาตรการรองรับด้านการจัดหาอาชีพอื่นที่ไม่กระทบกับป่าชายเลน และไม่กระทบกับความเป็นอยู่ของประชาชน The objectives of this research are to: 1. Evaluate government policy outcomes regarding mangrove forest resources in Chanthaburi province; 2. Examine problems and obstacles in realizing government policies regarding mangrove forest resources, and; 3. Examine guidelines for the adjustment of government policy operations on mangrove forest resources. The results of in-depth interviews and reading revealed that the system and stages of policy realization were important to policy development and outcomes as well as playing a role in government policy suspension due to local area differences leading to highly effective and efficient policy results. The study, which applied questionnaires, revealed that the study population had an opinion in the range of “medium”, divided by factors as follows: first was context of policy application with an average in the medium range; second was import factors with a medium range opinion; third was operations with opinions in the medium range, and; fourth was products, also in the medium range. The results of problem and obstacle analysis showed that several problems and obstacles remain, such as: 1. Shortage of staff; 2. Lack of coordination between staff; 3. Inadequate funding; 4. Disagreement between local people and government officers; 5. Some projects are not clearly defined and are not followed-up, and; 6. Legal and operations complexities. The results of study of guidelines for policy adjustment showed that: 1. There should be clear, concrete determination of policy and measures; 2. There should be community relations held with locals; 3. There should be clear, flexible and lenient timeframes for the cessation of illegal activities in mangrove forests, and; 4. The public sector should guarantee alternative occupations for locals which do not impact mangrove forests or community lifestyles.Downloads
Issue
Section
Articles