ความพร้อมในการจัดตั้งสหกรณ์บริการประชาชนของเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี
Keywords:
การบริการประชาชน, สหกรณ์, เทศบาลเมืองเสนสุขAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพร้อมในการจัดตั้งสหกรณ์บริการประชาชนของเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี เพื่อวิเคราะห์หาอิทธิพลระหว่างกระบวนการบริหารจัดการ (POCCC) และปัจจัยพื้นฐานทางการบริหารจัดการ (4M) ของเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี กับความพร้อมในการจัดตั้งสหกรณ์บริการประชาชนของเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี และเพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อความพร้อมในการจัดตั้งสหกรณ์บริการประชาชนของผู้บริหารในเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงาน (เฉพาะพนักงานเทศบาล) ทุกหน่วยงานของเทศบาลเมืองแสนสุข ทั้งหมด 82 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้ค่าสถิติการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis: MRA) ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย (Coefficient of Determination: R2) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมในการจัดตั้งสหกรณ์บริการประชาชนของเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับต่ำ โดยยกเว้นความพร้อมทางด้านผู้บริหารของเทศบาล ที่มีความพร้อมในระดับปานกลาง ตามมาด้วยความพร้อมทางด้านบุคลากรของเทศบาล ความพร้อมทางด้านสมาชิกที่จะร่วมจัดตั้งสหกรณ์ และความพร้อมทางด้านการมีกิจการร่วมกัน ตามประเภทของสหกรณ์ที่ขอจดทะเบียนตามลำดับ และจากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กระบวนการบริหารจัดการ (POCCC) ด้านการประสานงาน (Coordinating) และปัจจัยพื้นฐานทางการบริหารจัดการ (4M) ทั้ง 4 ด้าน โดยสามารถเรียงลำคับความสำคัญ ดังนี้ ทรัพยากรบุคคล (Man) เงินทุน (Money) การบร ิหารจัดการ (Management) และเครื่องมือ (Machine & Material) ตามลำดับของเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี อิทธิพลต่อความพร้อมในการจัดตั้งสหกรณ์บริการประชาชนของเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสามารถนำตัวแปรเหล่านี้มาใช้พยากรณ์ความพร้อมในการจัดตั้งสหกรณ์บริการประชาชนได้โดยมีประสิทธิภาพในกรพยากรณ์ที่ร้อยละ 43.6 และ 81.6 This research aims to study the readiness for establishing a Service Cooperative in Saensuk municipality Chonburi province to analyze the influence of process management (POCCC) fundamentals and administrative (4M) of the readiness for establishing a Service Cooperative in Saensuk municipality Chonburi province The sample used in this research is the employee (for municipal employees), all entities in all 82 municipalities of Saensuk municipality analyzing the data. Use processed with statistical software. The statistics used were percentage, mean, standard deviation. To test the hypothesis Using statistical analysis, multiple regression (Multiple Linear Regression Analysis: MRA) with a coefficient of determination (Coefficient of Determination: R2) determining the level of statistical significance at the 0.05 level. The results showed that the readiness for establishing a Service Cooperative in Saensuk municipality Chonburi province overall and each aspect is low. With the exception of the management of the municipality. With a moderate level. Followed by the availability of personnel and resources of the municipality. The readiness of the members to join cooperatives. And the availability of a joint patent on the type of cooperative respectively. The results of this study that the process management (POCCC) Coordination. (Coordinating) and fundamentals of financial management (4M) and four side-by can expand the trunk just as important as human resources (Man) funds (Money) Management (Management) and tools (Machine & Material), respectively, of the Saensuk municipality Chonburi province influence on the availability of public service cooperatives. Saensuk municipality Chonburi province tatistically significant at the .05 level. These variables, which can be used to predict the availability of public services cooperatives. By effectively in our forecast of 43.6 and 81.6 percentDownloads
Issue
Section
Articles