การุณยฆาตเชิงรุกโดยสมัครใจกับความรับผิด ทางอาญา: ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทย - เยอรมัน

Authors

  • อรรัมภา ไวยมุกข์
  • อชิรญา ภู่พงศกร
  • ประลอง ศิริภูล
  • อารยา เนื่องจำนงค์

Keywords:

การุณยฆาต, การทำให้ผู้ป่วยตายโดยสงบ, ฆ่าโดยเจตนา

Abstract

          การุณยฆาตเชิงรุกโดยสมัครใจ หมายถึง การทำให้บุคคลตายโดยเจตนา หรือเร่งการตายเพื่อมิให้ผู้ป่วยต้องได้รับความทุกข์ทรมานตามคำร้องขอของผู้ป่วย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำการุณยฆาตเชิงรุกโดยสมัครใจในกฎหมายไทยและกฎหมายเยอรมันผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันนี้การุณยฆาตเชิงรุกโดยสมัครใจ เป็นการกระทำที่เข้าองค์ประกอบความผิดอาญาไทย ฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ตามมาตรา 288 หรือ 289 แล้วแต่กรณี ซึ่งต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าถึงยี่สิบปี ถึงแม้การุณยฆาตเชิงรุกโดยสมัครใจยังคงเป็นการฆ่าโดยเจตนาที่ผิดกฎหมาย แต่องค์ประกอบของการกระทำความผิดในทางข้อเท็จจริงก็มีความแตกต่างที่สำญจากการฆ่าโดยเจตนาอื่น ๆ ได้แก่ การร้องขอของผู้ถูกฆ่าเอง ดังนั้น การดำเนินคดีกับผู้กระทำการุณยฆาต โดยอาศัยฐานความผิดเดียวกันกับการฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาในรูปแบบอื่นจึงไม่เหมาะสม บทความนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้กฎหมายอาญาไทยได้นำลักษณะเฉพาะของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมาประกอบการพิจารณา กล่าวคือ กรณีการุณยฆาต โดยความสมัครใจนั้น เกิดจากการที่ผู้ป่วยเป็นฝ่ายร้องขออย่างชัดแจ้งและจริงจังให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือบุคคลใกล้ชิดเป็นผู้กระทำการุณยฆาตเอง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของข้อเท็จจริงซึ่งไม่ได้มีอยู่สำหรับกรณีการฆ่าโดยเจตนาในกรณีทั่วไป ซึ่งเป็นการประทุษร้ายต่อชีวิตผู้อื่นโดยปราศจากความสมัครใจ การนำองค์ประกอบของข้อเท็จจริงมาบัญญัติเป็นองค์ประกอบ ความผิดเพื่อแบ่งแยกความแตกต่างทางกฎหมายระหว่างการุณยฆาตจากการฆ่าโดยเจตนาในกรณีอื่น และกำหนดผลทางกฎหมายสำหรับแต่ละกรณีให้แตกต่างกัน จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่จะนำมาพัฒนากฎหมายอาญาไทยให้สอดคล้องกับมโนสำนึก โดยยังคงยึดหลักคุณธรรมทางกฎหมาย (Rechtsgut) ในประเด็นความผิดต่อชีวิตเพื่อปฏิเสธความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำการุณยฆาตลักษณะเดียวกันกับกฎหมายอาญาเยอรมัน            "Voluntary Active Euthanasia" is the practice of intentionally ending life or to hasten death in order to alleviate a patient's pain and suffering at his or her request. This article aims to conduct a comparative study of the criminal liability of voluntary active euthanasia offenders in Thai and German law.The study found that, nowadays, Voluntary Active Euthanasia is an act which constitutes criminal offense of murder under Section 288 or 289 of Thai Criminal Code. As a result, the offender shall be punished by death penalty, life sentence or imprisonment from fifteen years to twenty years. Despite the fact that Voluntary Active Euthanasia is still an illegal intentional killing, the requests of the killed persons are considered the factual element which differs it from murder in other forms. Therefore, to prosecute euthanasia offenders for the same criminal offenses as the offenders of murder in other figures is not appropriate. This article, therefore, suggests that Thai Criminal law should take into account the special characteristics of the factual element of the crime of euthanasia. In case of voluntary active euthanasia, the crime is committed by medical practitioners or closed relatives as a result of an explicit and serious request of the killed person, whereas in case of general murders, the crime is committed as a result of intentional harm to life of other persons without their consent. Turning this special factual element into an element of offense to distinguish, in the view of the laws, voluntary active euthanasia from murder in other forms and associate different legal consequences to each case is an appropriate step to make Thai criminal law be more in accordance with "sound judgment", while "Rechtsgut" is nevertheless  preserved when dealing with offenses against life to decline the legality of voluntary active euthanasia in the same manner as in German criminal law.

Downloads