ปัจจัยความสำเร็จในการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดลำปาง

Authors

  • ธนวิทย์ บุตรอุดม

Keywords:

การบริหารงานสาธารณะ, ปัจจัยความสำเร็จ, 7s McKinsey, BSC

Abstract

          การวิจัยเรื่องปัจจัยความสำเร็จในการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดลำปาง เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการบริหารที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การบริการ สาธารณะของเทศบาลในจังหวัดลำปาง ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจากประชากร จำนวน 42 เทศบาล การวิจัยครั้งนี้ ตัวแปรอิสระประกอบด้วยปัจจัย 7 ด้าน ได้แก่ ความชัดเจนของยุทธศาสตร์ ความเหมาะสมด้านโครงสร้างของหน่วยงาน ความเหมาะสมของระบบงาน ทักษะของบุคลากร การจัดบุคคล เข้าทำงาน รูปแบบการบริหาร และค่านิยมร่วม โดยตัวแปรตาม ได้แก่ คะแนน ผลสัมฤทธิ์ของการบริหารสาธารณะ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลจากการวิเคราะห์โดยใช้สถิติการถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise method) พบว่า จากการนำตัวแปรอิสระทั้งหมด 7 ตัวแปรและตัวแปรตาม ได้แก่ คะแนนผลสัมฤทธิ์ของการบริการสาธารณะโดยใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบาย ความผันแปรผลสัมฤทธิ์การบริการสาธารณะ ร้อยละ 67.2 ผลจากการวิจัย พบว่า มีตัวแปรอิสระเพียง 3 ปัจจัยเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การให้บริการสาธารณะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยด้านความชัดเจนของยุทธศาสตร์ ปัจจัยด้านรูปแบบการบริหาร และปัจจัยด้านค่านิยมร่วม            The research titled ‘Success Factor for Public Service of Local Administrative Organization: Case Study of Lampang Municipalities for analysis a causal relationship on factors of public administration affecting an achievement of municipality performance in Lampang. The researcher collected data from 42 municipalities. The independent variables were 7 that were strategy clearness, unit structure suitability, work system suitability, personnel skill, recruitment, administration pattern, and co-value. A dependent variable was score of public service achievement. Tool for collecting data was questionnaire. Data analyzed by average, standard deviation, and stepwise method. The result of applying a Stepwise method to 7 independent variables and the dependent variable with the statistical significance at .05 found that they were able to explain an alteration of performance achievement with percentage of 67.2 The result found that there were only 3 of independent variables affecting to public service administration with statistical significance such as strategy clearness, administration pattern, and co-value.

Downloads