ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในภาคตะวันออก

Authors

  • พลกฤษณ์ ไพรสานฑ์วณิชกุล

Keywords:

พฤติกรรมผู้บริโภค, ภาคตะวันออก

Abstract

          การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยมีวัตถุประสงค์ การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในภาคตะวันออก และ 2) เพื่อพัฒนา และตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมผู้บริโภคที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากรในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออก 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว สุ่มตัวอย่าง จำนวน 560 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบสามขั้นตอน (three-stages sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแสดงจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่าง ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมผู้บริโภคในภาคตะวันออก ข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรม การบริโภคสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผู้บริโภคมีความต้องการบริโภค ข้าวสาร เมื่อเทียบกับสินค้าบริโภคชนิดอื่นอยู่ในระดับมากเพศมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีความต้องการบริโภคสบู่ ยาสีฟัน แชมพู เมื่อเทียบกับสินค้าบริโภคชนิดอื่นอยู่ในระดับมาก เพศมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีความต้องการบริโภครถยนต์เมื่อเทียบกับสินค้าบริโภคชนิดอื่นอยู่ในระดับมาก รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภครถยนต์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีความต้องการบริโภคโทรศัพท์มือถือเมื่อเทียบกับสินค้าบริโภคชนิดอื่นอยู่ในระดับปานกลาง เพศมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีความต้องการบริโภคสินค้าแบรนด์เนม เมื่อเทียบกับสินค้าบริโภคชนิดอื่นอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลทางลบต่อพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีความต้องการบริโภคทองรูปพรรณ เมื่อเทียบกับสินค้าบริโภคชนิดอื่นอยู่ในระดับปานกลาง เพศมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภค อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีความต้องการบริโภคประกันชีวิตเมื่อเทียบกับ สินค้าบริโภคชนิดอื่นอยู่ในระดับน้อย รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีความต้องการทัวร์ต่างประเทศ เมื่อเทียบกับสินค้าบริโภคชนิดอื่นอยู่ในระดับปานกลาง เพศและการรับรู้ของผู้บริโภคมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05             The objectives of this research were 1) to study of consumer behavior in the east and 2) to develop and ensure the consistency of the model, the causal relationship of consumer behavior is developed based on the empirical data. The study population of 560 and the people who live in the east 7 provinces as follows Chanthaburi, Chachoengsao, Chonburi, Trad, Prachinburi, Rayong and Sakaeo. Sampling conducted by three-stages sampling. The instrument used in this study was a questionnaire consisting of 5 parts, data were analyzed by percentage, arithmetic average, standard deviation and analysis to check the consistency between the causal model of consumer behavior in the east. Empirical data analysis with structural equation modeling. The results found that model of the causal relationships of consumption behavior consistent empirical data. Consumers are demanding rice consumption compared to other types of consumer goods at a high level and sex has a positive influence on consumption behavior is significant at the 0.05 level. The demand for consumers goods, soap, toothpaste, shampoo, compared with other species at a high level and sex has a positive influence on consumption behavior is significant at the 0.05 level. The demand for used cars compared to other types of consumer goods at a high level and the average monthly income has a positive influence on consumption behavior is significant at the 0.05 level. The demand for mobile phones compared to other types of consumer products is moderate and sex has a positive influence on consumption behavior is significant at the 0.05 level. The demand for brand name compared to other types of consumer products is moderate and the influence of the reference group has a negative influence on the intention to consume statistically significant at the 0.05 level. The demand for gold ornaments compared to other types of consumer products is moderate and sex has a positive influence on consumption behavior is significant at the 0.05 level. The demand for life insurance compared to other types of consumer goods at a low level and the average monthly income has a positive influence on consumer behavior life insurance statistically significant at the 0.05 level. The demand for travel abroad compared to other types of consumer products is moderate, sex and perceptions of consumers have a positive influence on consumption behavior is significant at the 0.05 level.

Downloads