สัญญา ธรรมศักดิ์ กับการบริหารราชการไทย

Authors

  • สุจิตรา ปานพุ่ม
  • วรเดช จันทรศร

Keywords:

สัญญา ธรรมศักดิ์, การบริหารราชการไทย

Abstract

           การวิจัย เรื่อง “สัญญา ธรรมศักดิ์ กับการบริหารราชการไทย” มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์นโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ของศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ ตามหลักปรัชญา แนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาจากเอกสารถึง ประวัติผลงานการกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นำมาวิเคราะห์ถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของนโยบายกับหลักปรัชญา แนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ พร้อมทั้งสัมภาษณ์นักวิชาการ ผู้บริหาร และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำนโยบายดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติผลการวิจัยพบว่า (1) นโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินของ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย นโยบายด้านแรงงาน นโยบายด้านการเกษตรกรรม และนโยบายด้านการศึกษาจำแนกเป็นนโยบายที่ประสบความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ นโยบายแรงงานสัมพันธ์ และนโยบายที่ไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ นโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และนโยบายการศึกษา (2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ กับหลักปรัชญา แนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ พบว่า นโยบายแรงงานสัมพันธ์เป็นนโยบายที่ประสบ ความสำเร็จ เนื่องจากเป็นไปตามหลักปรัชญาของโทมัส ควีนาส ที่ว่ารัฐต้องเข้าไปดูแลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและตัวแบบทางทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติของวรเดช จันทรศร : ตัวแบบที่ยึดหลักเหตุผล ส่วนนโยบายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และนโยบายการศึกษานั้นถึงแม้จะสอดคล้องกับหลักปรัชญาของโธมัส ฮอบส์ ที่ว่ารัฐต้องจัดสรรที่ดินทำกินเพื่อความผาสุกของประชาชน และนโยบายการศึกษาที่สอดคล้องกับปรัชญาของอริสโตเติลและปรัชญาของโสกราติส ที่ว่าการทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจะต้องให้การศึกษานั้นยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเป็นการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นแบบบนลงล่างที่ให้ความสำคัญที่ตัวนโยบายและการควบคุมการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยผู้กำหนดนโยบายว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติมากกว่าตัวผู้ปฏิบัติระดับล่าง ดังนั้น ความล้มเหลวของนโยบาย จึงเกิดจากโครงสร้างหลัก ไม่ได้ตั้งอยู่บนทฤษฎีที่เหมาะสม มีหน่วยงานเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนมากมีความสลับซับซ้อนในการสั่งการและประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน พร้อมทั้งขาดความเชื่อมโยงและความต่อเนื่องของการนำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งข้อค้นพบนี้ตามงานวิจัยของเพรสแมนและวิลดัฟสกี้            The research on "Sanya Dharmasakti and Thai Public Administration" aims to 1) analyze the public administrative policy of Professor Sanya Dharmasakti while holding his position as the prime minister 2) analyze the public administrative policy of Professor Sanya Dharmasakti according to the principles of philosophy, concepts and theories in terms of political sciences. This research was qualitatively conducted by studying documents related to Professor Sanya Dharmasakti's gospel performance of policymaking and public administration while holding his position as a prime minister. The researchers used the collected documents to analyze either for the success or failure of the policy regarding philosophy, concepts and theories in terms of political science. Interviewing scholars, administrators and persons who had responsibility to put the policy into practice was also implemented. The findings were as follows: 1) the public administrative policy of Professor Sanya Dharmasakti while holding position of prime minister consisted of workforce policy, agricultural policy and educational policy. The policy that was practically successful such as labor relations. The policy that was not successful was found in policy of land reformation for agriculture and education policy; 2) the results of the comparative analysis of Professor Sanya Dharmasakti's administrative public policy and principles of philosophy, concepts and theories in terms of public administration found that policy of labor relations was the successful policy due to the following of Thomas Aquinas's philosophy that nation must take responsibility of their people and raise the level of their quality of life and Voradej Chandarasorn's rational model of theories public policy implementation. Although the implementation of agricultural land reform and education policy were related to Thomas Hobbes's philosophy that public needs to divide land for people's earning to live happily and education policy that related to Aristotle and Socrates's philosophy in that education can make people have good life quality, these policies were not successful. This is attributable to top-down policy implementation, where the policy maker gives higher priority to the policy itself and control over policy implementation as important to the success of policy implementation, more than the lower level practitioner. Therefore policy failure results from having a main structure that is not based upon a suitable theory, having the involvement of several agencies, complexities in command and joint coordination between agencies, as well as lack of connectivity and continuity in policy implementation. This finding is in line with the research of Pressman and Wildavsky.

Downloads