ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชุมชนท้องถิ่น ในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรม เขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง

Authors

  • ชาตรี บุนนาค

Keywords:

การต่อสู้, ชุมชนท้องถิ่น, การมีส่วนร่วม, การพัฒนาอุตสาหกรรม

Abstract

          การศึกษาวิจัยเรื่อง “ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชุมชนท้องถิ่น ในการ มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรม เขตมาบตาพุด จังหวัดระยอง” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษาพัฒนาการรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรม 2) ศึกษาปัจจัยเกื้อหนุนและปัจจัยอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) เสนอแนะกลยุทธ์ กลไก กระบวนการ ในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการและการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แบ่งออกเป็น 3 ยุค ดังนี้ 1) ยุคก่อนเริ่มต้นอุตสาหกรรมถึงการเกิดอุตสาหกรรม (พ.ศ. 2524 - 2530) เป็นยุคของการตัดสินใจในระดับนโยบายและการดำเนิน โครงการขนาดใหญ่เป็นของภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว 2) ยุคอุตสาหกรรมขยายตัวและเริ่มสร้างผลกระทบ (พ.ศ. 2531 - 2549) เป็นยุคที่อุตสาหกรรมขยายตัวและสร้างผลกระทบต่อชุมชน และชุมชุมเริ่มเรียกร้องการดูแลจากภาครัฐ 3) ยุคอุตสาหกรรมเฟื่องฟู (พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน) เป็นยุคที่อุตสาหกรรมมีการขยายตัวสูงสุด เกิดกระแสต่อต้านจากภาคประชาชนอย่างกว้างขวาง และนำไปสู่คดีความในศาลปกครองซึ่งประชาชนเป็นฝ่ายได้รับชนะ จนนำไปสู่การปรับตัวเข้าหากันของอุตสาหกรรมกับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งในยุคปัจจุบันนั้นเป็นการแสวงหาผลการอยู่ร่วมกันได้ในลักษณะ “อุตสาหกรรมอยู่ได้ ชุมชนอยู่ได้ สิ่งแวดล้อมอยู่ได้” โดยการใช้ผลประโยชน์เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งมีทั้งผลประโยชน์ทางตรงและผลประโยชน์ทางอ้อม ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในยุคนี้ ได้แก่ วัฒนธรรมท้องถิ่น ความเป็นชนบทที่ไม่รับรู้และไม่สนใจภายนอก การถูกปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลของโครงการ และไม่ชอบขัดแย้งกับหน่วยงานภาครัฐ อำนาจของรัฐที่ไม่สนใจในสิทธิชุมชน และอำนาจทุนที่มุ่งหวังการกอบโกยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ปัจจัยที่เอื้อหนุนต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ได้แก่ ความรู้ของชุมชน การเปิดรับความช่วยเหลือจากภายนอก เช่น เอ็นจีโอและสื่อมวลชน รวมถึงการมีผู้นำทางธรรมชาติที่มีความเข้มแข็ง และการมีกลไกศาลปกครอง ข้อเสนอแนะภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญบริบทด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะบริบททางพื้นที่ และบริบททางสังคมควบคู่ไปกับพัฒนาการด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้เกิดกระบวนการตัดสินใจร่วมกันในผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายอย่างเป็นธรรมบนพื้นฐานความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice)            The title of this research is “Struggle History of Local Community for Participation in Map Ta Phut Area Industrialization Process” in terms of qualitative research. The objectives of this research are listed under three articles. 1) To study the progress of patterns in the local community when participating in the process of industrial development. 2) To study factors advocating and hindering participation of the community. 3) To propose practical strategies, mechanisms, and processes in the development and participation of the community in the industrial development in Map Ta Phut, Rayong. The research revealed three periods of development and participation of the community during the industrial development of Map Ta Phut industrial estate: 1) Pre-industrial to industrial period (1981 - 1987) - the period of making decisions regarding policy, and procedure of mega projects solely by the government. 2) Period of industrial expansion and its impacts (1988 - 2006) - the period industries expanded and affected the community, and the community starting to demand responsibilities from the government. 3) Booming industries period (2007 - present) - industry has the highest growth rate during this period. The community moved to oppose development widely and this led to prosecutions in the administrative court in which the community’s side prevailed. For this reason, ways to adapt have been brought to the community and the industrial sector. Nowadays, the union of the community and industries appear to be “Good for Industry, good for community, good for environment” driven by direct and indirect benefits. Factors hindering in the participation of the community in this period are local countryside cultures that ignore the outside world, no information about the projects, a reluctance to be against the government sector, government authorities that ignore the community’s rights, and capitalists who aim to take advantage of the economy. Factors supporting the participation of local communities are community knowledge, receiving outside help from NGOs and the media, strong environmental leaders, and knowledge of the administrative court mechanisms. In addition, the researcher would like to purpose some recommendations. For example: the government sector should pay attention to different contexts (especially in terms of space and social contexts) together with the development of participation of local communities to make joint decisions to ensure fair advantages and social justice in the future.

Downloads