พฤติกรรมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่วิถีชีวิตของประชาชน ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก

Authors

  • เอกวิทย์ มณีธร
  • ศุภลักษณ์ เหลี่ยมวรางกูร

Keywords:

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, เขตพื้นที่ภาคตะวันออก

Abstract

           การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่วิถีชีวิตของประชาชน ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่วิถีชีวิตของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก 2) ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต จำแนกตามปัจจัยภูมิหลังส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม และความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) เสนอข้อค้นพบนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตจากการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนต่อไป โดยทำการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative research and Quantitative research) การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตตะวันออก ขนาดตัวอย่างจำนวน 400 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) เลือกสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับแผนงาน/ โครงการ/ กิจกรรม หรือเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ประชาชนในพื้นที่ และผู้นำชุมชน NGO นักวิชาการ สมาชิกกลุ่มทางสังคมที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ แผนงาน/ โครงการ/ กิจกรรม หรือเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดละ 5 คน รวม 8 จังหวัด จำนวน 40 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดำรงชีวิตตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.36) เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมการดำรงชีวิตตามหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.67) การดำรงชีวิตตามหลักความมีเหตุผล             ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.64) และการดำรงชีวิตตามหลักความพอประมาณ ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.76) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยภูมิหลังส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรสที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ รายได้ รายจ่าย เงินออม ภาระหนี้สิน ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ บทบาทในครอบครัว การเป็นสมาชิก กลุ่มทางสังคม ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ          The research on the behaviors of people in the area of the Eastern Region to apply the Philosophy of Sufficiency Economy to their ways of living was aimed at         To study the behaviors of people in the area of the Eastern Region to apply the Philosophy of Sufficiency Economy to their ways of living         To compare the above - mentioned behaviors categorized in terms of their personal, social and also principle knowledge and understanding factors.         To suggest the way to improve qualities of life by applying the Philosophy of Sufficiency Economy         The researcher used in-depth interview as a techniques of quantitative method and 400 questionnaires as a tool for qualitative method.         The findings were as follows;         Most of the respondents were male (64%), aged between 20 - 29 (39.25%) holders of bachelor's degree or the equivalent (51%), employee or wage earner (31.25%), single (54.25%) having excellent level of knowledge and understanding (85%). In general, living behavior in accordance with the Principle of Sufficiency Economy is at the high level. Hypothesis test revealed that different personal, social and also knowledge and understanding factors affect the people's behavior to apply the Philosophy of Sufficiency Economy to their ways of living differently with the statistically significant level.

Downloads