การพัฒนารูปแบบการเผยแพร่สารสนเทศ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน ภาคกลาง
Keywords:
รูปแบบการเผยแพร่สารสนเทศ, เศรษฐกิจพอเพียง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางAbstract
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาท วิธี และปัญหา การเผยแพร่สารสนเทศเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคกลาง 2) เปรียบเทียบบทบาท วิธี และปัญหาการเผยแพร่สารสนเทศ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคกลาง และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการเผยแพร่สารสนเทศเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 8 แห่ง เทศบาล 73 แห่ง และองค์การ บริหารส่วนตำบล 179 แห่ง รวมทั้งสิ้น 260 แห่ง ซึ่งผู้วิจัยกำหนดขนาดของ กลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโรยามาเน่ กำหนดความคลาดเคลื่อนที่ระดับ 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคกลางมีบทบาทการเผยแพร่ สารสนเทศเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีบทบาทด้านการวางแผนสูงที่สุด มีการเผยแพร่สารสนเทศ ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม สูงที่สุด และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในภาคกลาง มีปัญหาการเผยแพร่สารสนเทศภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาด้านจัดสรรงบประมาณสูงที่สุด 2. 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคกลางที่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ จำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบ ความเพียงพอของบุคลากรที่รับผิดชอบ ความรู้ของบุคลากรที่รับผิดชอบ ความถี่ในการเผยแพร่สารสนเทศ และการมีหมู่บ้านที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ แตกต่างกัน มีบทบาทการเผยแพร่สารสนเทศเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคกลางที่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ จำนวนบุคลากรที่รับผิดชอบ ลักษณะการนำเสนอสารสนเทศ ความถี่ในการเผยแพร่สารสนเทศ และการมีหมู่บ้านที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ แตกต่างกัน มีการเผยแพร่สารสนเทศเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคกลางที่มีประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความเพียงพอของบุคลากรที่รับผิดชอบ และความรู้ของบุคลากรที่รับผิดชอบแตกต่างกัน มีปัญหาการเผยแพร่สารสนเทศเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน 3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคกลาง ควรพัฒนารูปแบบการเผยแพร่สารสนเทศเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงรับผิดชอบงานเผยแพร่ โดยนำเสนอใน ลักษณะของการคัดลอกข้อความ หรือสรุปใจความสำคัญจากพระบรมราโชวาท และอาจมีภาพประกอบ ด้วยการผลิตสื่อเอง หรือมอบหมายให้หน่วยงาน ภายนอกผลิต มีการดำเนินงานเผยแพร่ตลอดทั้งปีอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยใช้ช่องทางที่หลากหลาย This research aimed to 1) study and 2) compare the roles, channels, and problems in distributing information on sufficiency economy conducted by the local administration organizations in the central region and 3) to develop the patterns for distributing the information on sufficiency economy conducted by the local administration organizations in the central region. The sample group was 8 provincial administration offices, 73 municipal offices and 179 sub district administration offices, 260 offices altogether The sample group size was determined according to Taro Yamane formular with the error level of 0.05. The instrument used in the data collection was questionnaire. The statistics used for the data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way Anova, and Scheffe. The results indicated that: 1. The information distribution roles adopted by the local administration organizations in the central region were at low level, the highest dimension being planing. The Information distribution conducted by the local administration organizations on sufficiency economy in the central region was at low level, the methods used most was the allowance for participation from the public. The problems encountered in the information distribution were at low level, the budgeting problem being the highest. 2. 1) The local administration organization in the central regions with differing units responsible for the information distribution, number of personnel, personnel adequacy, personnel knowledge, frequency of information distribution, and number of villages applying the Philosophy of Sufficiency Economy had differing roles of information distribution. 2) The local administration organization in the central regions with differing units responsible for the information distribution, number of personnel, information distribution methods, frequency of information distribution, and number of villages applying the Philosophy of Sufficiency Economy had differing level of information distribution on sufficiency economy. 3) The local administration organizations in the central regions with differing types of the local administration organization, personnel adequacy, and personnel knowledge had differing problems of information distribution on sufficiency economy 3. It was suggested that the local administration organizations in the central region should develop the patterns for distributing the information on sufficiency economy by assigning staff who is well educated in sufficiency economy to be in charge of the distribution. The methods recommended were direct quotation or summarizing the essence of the royal teaching, possibly with illustration. The media could be produced by the organization or through outsourcing. The distribution should be conducted continually and regularly using a variety of channels.Downloads
Issue
Section
Articles