การแลกเปลี่ยนชุมชนบนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Authors

  • สกฤติ อิสริยานนท์

Keywords:

การแลกเปลี่ยนชุมชน, เศรษฐกิจพอเพียง

Abstract

          บทความชิ้นนี้ต้องการเสนอแนวคิดและประสบการณ์ของการแลกเปลี่ยนชุมชน ภายใต้พื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่เป็นรูปธรรมของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสร้างระบบของการแลกเปลี่ยนชุมชนขึ้นเป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองและมีความเข้มแข็ง เป็นภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน สามารถรองรับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ได้ การแลกเปลี่ยนชุมชน มีรูปแบบและวิธีการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติและสัญญาประชาคมของแต่ละชุมชน เพื่อนำไปสู่ “การพัฒนาชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ของตนเอง ที่เน้น การแลกเปลี่ยนโดยชุมชนเพื่อชุมชน ให้ความสำคัญกับ “คุณค่า” ในการแลกเปลี่ยน มีระดับของการแลกเปลี่ยน 2 ระดับ คือ การแลกเปลี่ยนภายในชุมชน และการแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชน มีรูปแบบการแลกเปลี่ยน 3 รูปแบบ คือ การแลกเปลี่ยนที่ไม่ใช้สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน การแลกเปลี่ยนที่ใช้สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และการแลกเปลี่ยนโดยใช้เครดิต ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชน เป็นตัวกำหนดรูปแบบของการแลกเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในชุมชนนั้น ๆ ดังนั้น การแลกเปลี่ยนชุมชนจึงเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่ภาคส่วนต่าง ๆ จะรวมพลังในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่ประชาคมอาเซียนและนานาประเทศ ให้มีความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ภาคการปฏิบัติมากยิ่งขึ้น          This article has an objective to propose practical application of community exchange through the lens of the sufficiency economy theory. Community exchange is an integral part of the sufficiency economy which aims to create self-reliant of people and strengthen communities. It is also perceived as an immune system for community in political, economic, and cultural dimensions in the globalized world. The community exchange is consisted of diverse systems and processes based on the nature and social contract of each community. This system is established in order to create “community development in conformity with the sufficiency economy theory”. This process requires the ‘value’ of exchange which is divided into two levels: intra-exchange and inter-exchange. There are three different ways in exchanging commodity and services; medium of exchange, non-medium of exchange, and credit /debit system. The three mechanisms are varied selection depending on social, economic circumstances and people’s way of life in the community. One suggestion is that all sectors in the society should work together in constructing new strategy for increasing community mobilization.

Downloads