The Philosophy of Sufficiency Economy in Thailand: An Innovative Approach for Development Poor Countries

Authors

  • Anurat Anantanatorn

Keywords:

เศรษฐกิจพอเพียง, แนวทางใหม่ในการพัฒนา, การพัฒนาประเทศ

Abstract

          The Philosophy of Sufficiency Economy (PSE) is an alternative approach focusing on the balance between economic development and the degradation of local contexts, such as physical, social, and cultural environments. The philosophy is based on the principle of moderation, rationality, and self-immunity along with the conditions for morality and knowledge. This philosophy is an alternative approach against the classical development theory, it focusing on economic growth and industrialization and famous in the less developed countries. Even though the record showed the high growth rate of income and the wider industrialization, these countries still suffered from high unemployment, high income inequality, excessive debt, high inflation, and economic instability and had brought negative impacts on the local surroundings in these countries, such as degradation of physical, social and cultural environments. The existence of these negative impacts unavoidably influenced the sustainability of future development. During 1992-1995 (2535-2538 BE.) Thailand was the biggest economic growth in Asian countries, so many factories and industrial zones have been built up, but In 1997 (2540 BE.) Thailand faced the great economic crisis. An innovative approach which could be employed to balance between economic growth and degradation of local environments has been initiated by King Bumibol Adulyadej (King Rama 9) of Thailand in order to make balance between economic and environmental dimensions of the country, namely Sufficiency Economic Philosophy. According to the King, the most important thing for the country is not to be a big tiger, but to have enough to support ourselves. This paper would examine carefully about the implementation of sufficiency economy philosophy in Thailand as an alternative approach for development in South East Asia.           ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางเลือกใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และการเสื่อมสลายทางด้านสภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม เศรษฐกิจพอเพียงยึดหลักการที่สำคัญ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ควบคู่กับเงื่อนไขของการมีคุณธรรมและความรู้ หลักปรัชญานี้ถือได้ว่าเป็นทางเลือกที่สำคัญทางเลือกหนึ่งในท่ามกลางกระแสแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาแบบดั้งเดิม มุ่งเน้นแนวทางการพัฒนาในการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรมและได้รับความสนใจจากประเทศด้อยพัฒนาต่าง ๆ จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้และการขยายตัวของอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่ก็ยังคงประสบกับปัญหาการว่างงาน ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ปัญหาหนี้สิน ปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงมากขึ้น และปัญหาการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และยิ่งกว่านั้นการพัฒนาในช่วงที่ผ่านมาที่เน้นแต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ส่งผลลบ ด้านสภาพแวดล้อมและการเสื่อมสลายทางด้านสังคมและวัฒนธรรมให้แก่ประเทศ และการพัฒนาดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต สำหรับประเทศไทยเองในช่วงปี พ.ศ. 2535 - 2538เป็นประเทศที่มีความเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนมีการขยายตัวโรงงานและเขตอุตสาหกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรง การพัฒนาแนวทางใหม่ที่สามารถสร้างความสมดุลระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเสื่อมสลายของสภาพแวดล้อม เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชของไทย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างมิติทางด้านเศรษฐกิจและมิติทางด้านสภาพแวดล้อมของประเทศซึ่งเรียกว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ท่านได้ตรัสถึงสาระสำคัญยิ่งประการหนึ่งคือ “การจะเป็นเสือ ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่ พอกิน” บทความนี้เป็นการสำรวจการดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศไทยในฐานะที่เป็นทางเลือกในการพัฒนาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Downloads