การพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย

Authors

  • จิดาภา พรยิ่ง

Keywords:

หลักประกันสุขภาพ, ความเสมอภาค, สิทธิประโยชน์, การคุ้มครอง, กฎหมาย

Abstract

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอถึงความไม่เสมอภาคในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ในหลักประกันสุขภาพของประชาชนตามกฎหมาย ซึ่งไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายระหว่างประเทศและประเทศที่พัฒนาแล้ว 6 ประเทศ คือ อังกฤษ นิวซีแลนด์ ราชอาณาจักรสวีเดน สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และญี่ปุ่น วิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การระดมความคิดเห็นกลุ่มเจาะจง และการมีส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ          ผลการวิจัยพบว่า การคุ้มครองสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพ แยกเป็น 3 ระบบตามสถานภาพของประชาชน 3 สถานภาพ คือ ข้าราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และประชาชนทั่วไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพมีความแตกต่างกันในด้านสิทธิเลือกใช้สถานพยาบาล สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น เงื่อนเวลาของการเกิดสิทธิคุ้มครอง การเข้าถึงบริการกรณีเจ็บป่วยและการเข้าถึงบริการของสตรีมีครรภ์ การจ่ายเงินสมทบกรณีเจ็บป่วยและคลอดบุตร ตามแตกต่างกันนี้เป็นความไม่เสมอภาคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และไม่สอดคล้องกับหลักสากลและต่างประเทศที่พัฒนา แล้ว ข้อค้นพบได้นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข และเพิ่มเติมบทบัญญัติพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการรักษา พยาบาล พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยจัดทำเป็นร่างกฎหมายต้นแบบเพื่อความเสมอภาคของประชาชนในการได้รับคุ้มครองสิทธิประโยชน์จากระบบหลักประกันสุขภาพ          การวิจัยมีข้อเสนอแนะด้านกฎหมายด้วยการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ นโยบายด้านสุขภาพด้วยการดำเนินการให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชนทุกสถานภาพที่จะได้รับการคุ้มครองด้านสุขภาพที่เท่าเทียมกัน ด้านการบริหารจัดการด้วยการคำนึงถึงสิทธิประโยชน์สูงสุดของประชาชนในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและมาตรฐานเดียวกันและจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ            The aim of this research article was to present the inequality in the protection of security interest of people according to laws on Health Security System which are differences and non-conformities to the Constitution of Kingdom of Thailand and international principles and six developed countries i.e., England, New Zealand, Sweden, France, Germany and Japan as well. The research methodology is qualitative research consisting of documentary research, in-depth interview, brainstorming in focus group, and participation design, co-design.             The research found that the protection rights under the Health Security System were divided into three categories based on occupational citizen status; the civil servant according to the Royal Decree on Medical Welfare B.E.2533; employees according to the Social Security Act B.E. 2533; and general citizens according to the National Health Security Act B.E. 2545. The rights and health interests under Health Security System are inequaled in terms of the rights to hospital selection, the rights to primary financial aid, the beginning of health coverage, the rights to access healthcare services in the time of sickness, the right to access healthcare service for pregnant women, the Health Security funding payment in the time of sickness and child birth. These differences in rights represent an inequality under the Thai Constitution and not relevant to universal and developed countries’ principles.          The research recommendation is to amend the Royal Decree on Medical Welfare B.E. 2533; Social Security Act BE 2533; and the National Health Security Act B.E. 2 5 4 5 which will be a Model Law for the people to obtain an equality protection under Health Security System. Therefore, the health policy should grant the equal rights in Health Security System with efficiency and attainable standard to all Thai citizen.

Downloads