โลกาภิวัตน์ โครงสร้างอำนาจโลก และรัฐไทย : สหรัฐอเมริกากับการวางรากฐานองค์ความรู้ รัฐประศาสนศาสตร์ไทย

Authors

  • จักรี ไชยพินิจ

Keywords:

ระบบทุนนิยมโลก, สงครามเย็น, ยูซอม, การพัฒนา, รัฐประศาสนศาสตร์ไทย

Abstract

         บทความชิ้นนี้ต้องการวิเคราะห์ภาพของความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐไทยกับสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศมหาอำนาจผ่านปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ และระบบทุนนิยมโลก ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศศูนย์กลาง เหตุผลในเชิงทุนนิยมโลกส่งผลให้สหรัฐอเมริกาได้กำหนดบทบาทให้รัฐไทยเป็นฐานทรัพยากรและตลาดให้แก่ประเทศญี่ปุ่นในฐานะ “ห้องเครื่องของระบบทุนนิยมโลก” ในช่วงสงครามเย็น ตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้ สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องเข้ามาพัฒนาโครงสร้างการผลิตและระบบการบริหารราชการของไทย  ด้วยการเข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้รัฐประศาสนศาสตร์ในรัฐไทยให้เป็นชุดเดียวกับสิ่งที่สหรัฐอเมริกาต้องการ หน่วยงานองค์การที่มีบทบาทหลักในภารกิจนี้ ได้แก่ ยูซอม กระบวนการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นควบคู่กับการปรับโครงสร้างการบริหารราชการของไทย การจัดการให้มหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกากับหน่วยงานราชการและมหาวิทยาลัยของไทยมาเชื่อมโยงกัน การฝึกฝนอบรมข้าราชการและนักวิชาการ และการจัดหลักสูตรการศึกษา ผลที่ตามมาคือ การผลิตองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในรัฐไทยเป็นสิ่งสะท้อนความสัมพันธ์เชิงอำนาจในกระบวนการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาทั้งสิ้น อันเป็นภาพที่มักถูกละเลยไปจากการถกเถียงในวงวิชาการของไทย            This article aims to analyze the power relationship between Thailand and the US as a superpower through Globalization and Pax Americana. A logic of capitalism had enhanced the US to assign a Thai state as natural resources base as well as exported markets for Japan which was set as “Industrial Workshop”. According to this strategy, the US had to develop a production structure and public administration in Thailand identically with what the US desired. To achieve this mission, the main actor in pursuing this project is USOM. Apparently, this unit had had a major role in adjusting Thailand’s public administration, in bridging administration organizations and universities between the US’s and Thailand’s, in practicing civil servants and academics, and in arranging curriculum in Thailand. These missions had prompted a concrete action on crafting public administration in the Thai state. Such phenomenon had reflected the power relationship of American’s foreign policies which were mostly abandoned from an academic community in Thailand.

Downloads