จุดจบหรือการกลายร่างของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ : บทสำรวจภาครัฐไทย

Authors

  • ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน

Keywords:

การจัดการภาครัฐแนวใหม่, การปฏิรูปภาครัฐ, ประเทศไทย, ระบบราชการ, รัฐประศาสนศาสตร์

Abstract

          แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีอิทธิพลอย่างมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ก็คือ การจัดการภาครัฐแนวใหม่ เนื่องจากสร้างปรากฎการณ์ทั้งในฐานะแนวคิดที่ถูกกล่าวถึงผ่าน งานเขียนจำนวนมากและการนำไปปฏิบัติใช้ในประเทศต่างๆ ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา เช่นเดียวกับประเทศไทยที่รับเอาแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management: NPM) มาเป็นกรอบในการปฏิรูประบบราชการ โดยเฉพาะในช่วงรัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้นำเทคนิควิธีการบริหารงานสมัยใหม่มาใช้อย่างฉับพลัน ต่างกับรัฐบาลอื่นๆ ในอดีตที่เคยพยายามปฏิรูประบบราชการมาก่อน จนปัจจุบันนี้ การปฏิรูประบบราชการผ่านมาเกือบยี่สิบปีแล้ว การศึกษานี้จึงได้สำรวจการเข้ามาในประเทศไทยของแนวคิด NPM และผลกระทบจากแนวคิดโดยนำข้อวิพากษ์ทางวิชาการที่สะท้อนประเด็นปัญหาที่พบในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มาวิเคราะห์กรณีประเทศไทย อันจะช่วยถอดบทเรียนถึงจุดอ่อนของแนวคิด เงื่อนไขในการนำแนวคิดนั้นไปใช้ในทางปฏิบัติ และทางออกในการแก้ไขปัญหาช่องว่างระหว่างทฤษฎีและโลกปฏิบัติ เพื่อที่จะตอบคำถามว่า แนวคิด NPM ได้หมดอิทธิพลไปโดยสิ้นเชิงหรือได้ปรับเปลี่ยนไปเป็นแนวคิดใหม่แล้ว ทั้งนี้ จะได้เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้ต่อยอดต่อไป ตามสถานภาพการเป็นศาสตร์ประยุกต์ของรัฐประศาสนศาสตร์          The highly influential public administration concept of the late 20th century was the New Public Management (NPM) since it created crucial conceptual phenomena as discussed through numerous article and practices in many developed and developing countries. Similarly, Thailand adopted the NPM concept as a framework for bureaucratic reform. Likewise, the government of Thailand had brought this NPM as the government management and reform as especially seen in the government of Thaksin Shinawatra, who applied this modern management reform in Thailand after unsuccessful effort to reform the bureaucracy in the past. At present, the reform took over the past twenty years.          This study explored the introduction of NPM concepts into Thailand and the implications of the concept by gathering academic critiques that reflected key issues in most developing countries to analyze the current issue in Thailand. This will help illustrated the key weaknesses of the particular concept, conditions on how to implement the concept into practice in order to solve the problems and bridge the gap between theoretical and practical ways. In addition, the findings, to response to the question, showed whether the NPM concept has completely been transformed into a new concept, and this would also be the creation of new continuous knowledge subject to the applied science of public administration.

Downloads