หลักการพื้นฐานที่สำคัญสำหรับกระบวนการงบประมาณภาครัฐ

Authors

  • อนุชา อชิรเสนา

Keywords:

งบประมาณแผ่นดิน, กระบวนการงบประมาณ, หลักการพื้นฐาน, งบประมาณภาครัฐ

Abstract

          กระบวนการงบประมาณภาครัฐแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน องค์กรของรัฐทั้งหลายที่มีบทบาทในกระบวนการงบประมาณแต่ละขั้นตอนจะต้องดำเนินการโดยเคารพต่อหลักการพื้นฐานที่สำคัญ กล่าวคือ ในขั้นตอนการเตรียมจัดทำงบประมาณ ได้แก่ หลักการห้ามฝ่ายนิติบัญญัติริเริ่มงบประมาณ หลักดุลยภาพ และหลักความเป็นเอกภาพของงบประมาณ ในขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ ได้แก่ หลักความยินยอมของฝ่ายนิติบัญญัติ และหลักการห้ามฝ่ายนิติบัญญัติกระทำการที่ส่งผลให้ตนเข้าไปมีส่วนในการใช้งบประมาณ ในขั้นตอนการบริหารงบประมาณ ได้แก่ หลักระยะเวลาหนึ่งปีของงบประมาณ หลักรายได้ต้องมีลักษณะทั่วไป และหลักรายจ่ายต้องมีลักษณะเฉพาะเจาะจงและในขั้นตอนการควบคุมตรวจสอบงบประมาณ ได้แก่ หลักการตรวจสอบได้ และหลักการเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินตามปฏิญญาสากลว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน ทั้งนี้ แม้ว่าระบบกฎหมายไทยจะได้มีการบัญญัติรับรองหลายหลักการไว้แล้ว แต่ก็ยังคงมีบางหลักการที่ยังไม่ได้มีการบัญญัติรับรองไว้โดยชัดแจ้ง หรือหากมีการบัญญัติรับรองไว้ก็ยังคลุมเครือหรือไม่สมบูรณ์          The budget processes for public sector are divided into four phases: preparing, approving, executing and controlling the budget. Organs of state which are involved in budget processes have to respect the fundamental principles. Prohibiting the legislatures from initiating the budget, balance and unity are the principles for the budget preparation. Authoritativeness and prohibiting the legislatures from budget spending are the principles for approval of the budget. Annual basis, universality and specificity are the principles for budget execution. Finally, the budget control needs to concern the basis of accountability and the principles in Lima Declaration of Guidelines on Auditing Precepts. However, some principles do not appear in Thai legal system and some has not been enacted completely.

Downloads