ปัจจัยกดดันและปัจจัยการควบคุมตนเองกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน

Authors

  • จิริทธิ์พล ภูวไชยจีรภัทร
  • ประพนธ์ สหพัฒนา
  • เกษมศานต์ โชติชาครพันธุ์

Keywords:

ปัจจัยกดดัน, ปัจจัยการควบคุมตนเอง, การกระทำผิด, เด็กและเยาวชน

Abstract

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยกดดันและปัจจัยการควบคุมตนเองกับ การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำผิดและไม่เคยกระทำผิด จำนวน 800 คน และจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน การวิจัยนี้ใช้วิธีทางปริมาณและคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ พบว่า ปัจจัยกดดันที่มีอิทธิพลต่อการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนมากที่สุดคือ ปัจจัยกดดันจากครอบครัว ส่วนปัจจัยการควบคุมตนเองซึ่งเกิดจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคมจากครอบครัวถือเป็นภูมิต้านทานและยับยั้งไม่ให้เด็กและเยาวชนกระทำความผิดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยกดดัน ยังพบว่าปัจจัยการควบคุมตนเองต่ำในองค์ประกอบ ความหุนหันพลันแล่นมีอิทธิพลทำให้เด็กและเยาวชนกระทำผิดมากที่สุด และมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนที่มาจากครอบครัวแตกแยกและการเลี้ยงดูที่ผิดวิธี เช่น การให้ทรัพย์สินทดแทนการให้ความใกล้ชิด และความผูกพันต่อครอบครัวน้อยและรวมกลุ่มกันกระทำผิด เช่น การแข่งรถจักรยานยนต์ การเสพยา และสื่อโซเชียลทำให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ผิดและการซื้อขายยาเสพติดทำได้ง่าย ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรีบเร่งในการแก้ไขปัญหานี้         The aim of this research is to study strain factors and self-control factors of juvenile delinquency. The sample is consisted of 800 juvenile delinquents and non - delinquents, and key informants with knowledge and experience about juveniles. This research project adopted a mixed-methods approach. The statistics used in the analysis are descriptive and inferential statistics techniques including Correlation and Logistic Regression analysis. The quantitative and qualitative data analysis revealed that family pressure influenced juvenile delinquency most; this followed by pressure from the community and social environment and pressure from the school. Self-control factors were positively correlated with self-control. Socialization is a social barrier for children and young people and can prevent juvenile delinquency. The findings of this research show that self-control factors in the impulsive component have greatest influence on juvenile delinquency. Low self-regulation is positively correlated with wrongdoing by the thought process of juvenile delinquent and juveniles, in this respect come from broken families or families with insufficient care, including wrong parenting, such as giving property, substitution, proximity. For example children being spoiled by parent, tend to involve with a gang of youth who are ready to commit a number of criminal of offences such as unlawful motorcycle racing and drug abuse. Even worse the role of social media has exacerbated wrong behavior among juveniles. Therefore, the government and all relevant agencies should seriously address this issue.

Downloads