ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตในประเทศไทย

Authors

  • ศิริกุล ชัยโรจน์วงศ์
  • ชำนาญ งามมณีอุดม

Keywords:

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ภาคการผลิต, การเติบโตอย่างต่อเนื่อง, SME

Abstract

       ในปัจจุบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมถือเป็นรากฐานสำคัญของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งหากได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ก็จะสามารถสร้างการจ้างงาน รวมถึงตำแหน่งงานใหม่ๆ และมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก ผลการศึกษาพบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภาคการผลิตที่อยู่ในฐานข้อมูลต่อเนื่องกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2556 และอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อกาหนดของกฎหมายมีจำนวนรวม 30,243 ราย แบ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตที่มีการเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตมากกว่าร้อยละ 10 ในช่วงระยะเวลา 3 ปีต่อเนื่องกัน จำนวน 1,856 ราย และกลุ่มที่มีการเติบโตไม่คงที่ และ/ หรือไม่มีการเติบโตในระยะเวลา 3 ปีต่อเนื่องกัน จำนวน 28,387 ราย สำหรับการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตในประเทศไทย ระหว่างกลุ่มที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและกลุ่มที่มีการเติบโตไม่คงที่ และ/ หรือไม่มีการเติบโต ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และทำการทดสอบสมมติฐานการวิจัย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้ประกอบการและ/ หรือผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ปัจจัยด้านกลยุทธ์องค์กร ปัจจัยด้านนวัตกรรมองค์กร และปัจจัยด้านคุณลักษณะ การบริหารจัดการองค์กร ส่งผลต่อการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิต ในประเทศไทย ในขณะที่ปัจจัยด้านนโยบายและสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการเติบโตสูง ปัจจัยด้านคลัสเตอร์อุตสาหกรรม การสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรม การรวมกลุ่มเครือข่าย การเข้าถึงเครือข่ายและความร่วมมือของเครือข่าย และปัจจัยด้านการตลาดและการตลาดในระดับสากล ไม่ส่งผลการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตในประเทศไทย       Recently SMEs are considered to be an essential economic and social foundation system of Thailand. It has been promoted and supported continuously which means it can create a lot of employment and many new job positions. It also creates economic value to our country considerably. Study results show that SMES in Manufacturing sectors in data base and in VAT (Value Added Tax) from BE 2553 – 2556 which are conformed to Thai Law totally 30,243 companies, separating into 2 groups, first is the group of SMEs in Manufacturing sector that have been growth 10% continuously for the period of 3 years totally 1,856 companies and the other group is SMEs in Manufacturing sector which are not growth instability or not growth continuously within 3 years are 28,387 companies. Objectives of this study is to explore different factors which lead to the growth of the group of SMEs in Manufacturing sector that have been growth 10% continuously for the period of 3 years and the group which are not growth instability or not growth continuously within 3 years. Questionnaire is the instrument for collecting data, data is analyzed by Discriminant Analysis. Results show that Qualification of Entrepreneur or Top Management Factor, Organization Strategic Factors, Innovation Factors and Type of Management Factors affect to the growth of SMEs in Manufacturing Sector of Thailand. Whereas High Growth SMEs Supporting Policy and Environment Factors, Industrial Cluster, Industrial Networks, Groups Networking, Accessing Networking and Cooperating Networking Factors and Marketing and SMEs Internationalization Factors are not supporting the growth of SMEs in Thailand.

Downloads