กรอบกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของธรรมชาติหรือสิทธิของแม่ธรณี

Authors

  • จุฬาพัฒน์ กีรติภูมิธรรม
  • สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

Keywords:

สิทธิ, ธรรมชาติ, แม่ธรณี, กระบวนทัศน์ทางกฎหมาย, กรอบกฎหมาย, สิ่งแวดล้อม

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระบวนทัศน์ทางกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมแบบมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางกับกระบวนทัศน์ทางกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมแบบมีระบบนิเวศเป็นศูนย์กลาง เพื่อจัดทำกรอบกฎหมายและปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของธรรมชาติหรือแม่ธรณี โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการรับฟังความคิดเห็น ข้อค้นพบของการวิจัย คือ สาเหตุของปัญหาวิกฤตระบบนิเวศเกิดจากการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ภายใต้กระบวนทัศน์ทางกฎหมายแบบมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีปรากฏอยู่ในกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศและกฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทย ในขณะที่กระบวนทัศน์ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมแบบมีระบบนิเวศเป็นศูนย์กลางมีกลไกทางกฎหมายที่ยอมรับถึงความมีอยู่จริงของสิทธิของธรรมชาติหรือแม่ธรณีในมิติทางกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายของหลายประเทศ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการรับรองสิทธิของธรรมชาติแต่อย่างใด การวิจัยจึงจัดทำเป็นกรอบกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของธรรมชาติหรือแม่ธรณี และได้นำกรอบกฎหมายไปจัดเป็นร่างปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช.... ประกอบด้วย คำจำกัดความ สถานะทางกฎหมาย ลักษณะแห่งสิทธิ ขอบเขตแห่งสิทธิ ผู้ใช้สิทธิแทน หน้าที่ของรัฐ และหน้าที่ของประชาชน ข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ การนำเอากรอบกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของธรรมชาติหรือ แม่ธรณี และร่างปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช.... ไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมในรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้น ได้เสนอแนวทางด้านนโยบาย ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม สำหรับข้อเสนอแนะประเด็นวิจัยต่อไป คือ การศึกษาวิจัยกฎหมายที่มีการรับรองสิทธิของธรรมชาติในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติและกฎหมายท้องถิ่น         The purpose of this study is to review and contrast anthropocentric and eco-centric environmental legal paradigms, using qualitative research methodology, i.e. literature review, in-depth interview and public hearing. The ultimate aim is to develop a framework law and a draft amendment to the constitution of Thailand B.E. 2560 for the protection of the rights of nature or mother earth.          The findings show that the major cause of the ecosystem crisis is human activities under anthropocentric legal paradigm. Its influence is substantially evident in the international and Thai environmental laws. The rights of nature or mother earth, on the other hand, have been recognized by the environmental laws under eco-centric legal paradigm. While these rights have been recognized in a number of foreign and international laws, they have not yet been recognized in Thailand. Thus, as part of this study, a framework law for the protection of the rights of nature or mother earth -comprising the definitions, legal standing, nature of rights, scope of rights, representatives, duties of the state and duties of the Thai people--was developed and used for the drafting of an amendment to the constitution of Thailand B.E. 2560 (.. Amendment) B.E. …..         This research suggests that the aforementioned framework law for the protection of the rights of nature or mother earth and the draft amendment to the constitution of Thailand B.E. 2560 are used as guidelines for the amendment of the environmental provisions in the constitution. There are suggestions related to the economic and social policies as well. Further research is recommended for the recognition of the rights of nature in related Acts and local ordinances.

Downloads