การจดจำภายใต้การลืม: การต่อสู้ของความทรงจำที่มีต่อโศกนาฏกรรมระบอบฟรังโกในสเปน
Keywords:
การจดจำ, การลืม, ระบอบฟรังโก, ประเทศสเปนAbstract
ในช่วงการปกครองของเผด็จการนายพลฟรังโก ระหว่างปี 1936-1975 เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ต่อกลุ่มผู้ต่อต้านจำนวนมากและนำไปสู่จำนวนผู้เสียชีวิตหลายแสนราย ภายหลังการเสียชีวิตของเขา สังคมสเปนตกอยู่ในทางแพร่งว่า จะสร้างประชาธิปไตยในประเทศภายหลังระบอบเผด็จการและจะจัดการกับ ประวัติศาสตร์ความรุนแรงในอดีตเพื่อสร้างความปรองดองได้อย่างไร จากการทบทวนวรรณกรรมจำนวนหนึ่ง ผู้เขียนมีข้อถกเถียงว่า ประเทศสเปนอาศัยการจัดการกับความทรงจำผ่านการลืมและความเงียบที่มีต่ออดีตใน การสร้างประชาธิปไตยและความปรองดองในประเทศ การลืมดังกล่าวดำรงอยู่อย่างลงหลักปักฐานนานกว่าสองทศวรรษ จนกระทั่งต่อมา สเปนได้เปลี่ยนแปลงท่าทีต่อประวัติศาสตร์ความรุนแรงในประเทศตนเอง โดย อาศัยใช้การจดจำแทน เนื่องด้วยมีปัจจัยหลายประการเกิดควบคู่กัน อย่างไรก็ดี ผู้เขียนมีข้อถกเถียงอีกว่า แม้จะมีการจดจำกับโศกนาฏกรรมในยุคเผด็จการฟรังโกก็ตาม แต่การจดจำดังกล่าวยังอยู่ภายใต้ร่มเงา อันยิ่งใหญ่ ไพศาลของการลืมในประเทศสเปนอยู่ดี In the period of the Spanish dictator Franco between 1936 and 1975 there were a lot of human rights violations which led to the deaths of thousands of protestors, some estimates being as high as 400,000. After Franco’s death, Spanish society was in a dilemma about how to democratize and confront the country’s violent history to create reconciliation. Based on some literature reviews, the author argues that Spain used forgetting and silence toward the past over a span of two decades. Later, Spain changed its collective memory to remembering the violent past because of many simultaneous factors. However, the author argues further that, although remembering the tragedies under the Franco regime has been embraced, there is still a great umbrella of forgetting the past.Downloads
Issue
Section
Articles