การประเมินผลพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ภายใต้การเปิดเสรีด้านการบริการทางการศึกษาในกรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services - AFAS): ศึกษากรณีโรงเรียนนานาชาติในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ประพีร์ อภิชาติสกล
  • วรพิทย์ มีมาก

Keywords:

พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542, การเปิดเสรีทางการศึกษา, อาเซียน, โรงเรียนนานาชาติ, ASEAN

Abstract

          งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคน ต่างด้าว พ.ศ. 2542 ภายใต้การบริการทางการศึกษาในกรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน โดยใช้โรงเรียนนานาชาติในเขตกรุงเทพมหานครเป็นกรณีศึกษา และใช้ CIPP model เป็นตัวแบบในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 100 คน ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนนานาชาติ 19 คน ครูใหญ่/ ผู้อำนวยการโรงเรียนนานาชาติ 18 คน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ 20 คน ผู้ประกอบการโรงเรียนนานาชาติ 9 คน ผู้ถือหุ้น 15 คน และกรรมการสมาคมโรงเรียนนานาชาติ 19 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ที่ผ่านการทดสอบความเชื่อถือได้ การวิเคราะห์จะใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบแบบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน          ผลที่ได้จากการวิจัย คือ ผลการประเมินพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ภายใต้การเปิดเสรีด้านบริการทางการศึกษาในกรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน ในมิติบริบท มิติปัจจัยนำเข้า มิติกระบวนการ และมิติผลผลิต พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง อนึ่ง เมื่อนำคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพ อายุ และประสบการณ์ในการทำงาน เข้ามาพิจารณาร่วมด้วย ผลการประเมินทั้ง 4 มิติ พบว่า ทัศนะโดยรวมยังคงอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการประเมินแต่ละมิติ ผลการประเมินที่ได้พบว่า ทัศนะการประเมินจะมีความแตกต่างกันบ้างในกรณีของเพศ สถานภาพ และอายุ แต่ความแตกต่างดังกล่าว ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05           This study aims to evaluate the Foreign Business Act B.E. 2542 under Education Services in ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS): A Case Study of International School in Bangkok Metropolis. The CIPP is used as the evaluation model. The sampling group consists of 100 participants, namely, 19 international school’s executive committees, 18 head masters and principals, 20 international school’s administrative assistants, 9 international school’s operators, 15 shareholders and 19 international school’s association members. The sampling method applied in the study is simple random sampling. The essential research tool used is reliability-tested questionnaire. The analytical methods implemented are the descriptive statistics, t-test and the analysis of variance.          The findings reveal that the evaluation result of the Foreign Business Act B.E. 2542 according to Education Services in ASEAN Framework Agreement on Services (AFAS) under the following dimensions: Context Evaluation, Input Evaluation, Process Evaluation and Product Evaluation lay in the average range. The evaluation result of the 4 dimensions once taken the personal data, i.e., gender, educational level, status, age and working experience into consideration confirms the moderate stand point. The evaluation result of each dimension depicts a slight difference with the standpoint of status, gender and age, but, nevertheless, not indicates statistically significant at 0.05 level.

Downloads