แนวคิดอธิปไตยทางอาหาร : ข้อถกเถียงเชิงวิพากษ์กับแนวคิดทางด้านอาหารอื่น ๆ

Authors

  • สิรินทิพย์ นรินทร์ศิลป์

Keywords:

อธิปไตยทางอาหาร, ข้อถกเถียงเชิงวิพากษ์, แนวคิดทางด้านอาหาร

Abstract

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจว่าแนวคิดอธิปไตยทางอาหาร ซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านอาหารทางเลือกมีความเป็นมา พัฒนาการ และหลักการสำคัญของแนวคิดอย่างไร และแนวคิดอธิปไตยทางอาหารมีข้อถกเถียงเชิงวิพากษ์กับแนวคิดทางด้านอาหารอื่นๆ อย่างไร วิธีการศึกษาเป็นการทบทวนทางเอกสาร โดยเอกสารชั้นต้น ได้ทบทวนแถลงการณ์ต่างๆ ของกลุ่มลาเวียแคมเปซินา ซึ่งเป็นขบวนการอธิปไตยทางอาหาร และเอกสารชั้นรอง ได้ทบทวนงานศึกษาเกี่ยวกับข้อถกเถียงของแนวคิดอธิปไตยทางอาหาร ได้แก่ งานศึกษาของ Windfur และ Josen ปี ค.ศ. 2005 งานศึกษาของ Pimbert ปี ค.ศ. 2009 งานศึกษาของ Patel ปี ค.ศ. 2009 งานศึกษาของ Schanbacher ปี ค.ศ. 2010 งานศึกษาของ Beuchelt และ Virchow ปี ค.ศ. 2012 งานศึกษาของ Agarwal ปี ค.ศ.2014 และงานศึกษาของ Edelman และคณะปี ค.ศ. 2014 ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดอธิปไตยทางอาหาร ถูกกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 1996 โดยกลุ่มเคลื่อนไหวเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อใช้ต่อต้านการเปิดเสรีทางการค้าและการพัฒนาตามแนวคิดเสรีนิยมใหม่ รวมถึงเพื่อใช้ท้าทายต่อแนวคิดทางด้านอาหารที่ดำรงอยู่ก่อน ได้แก่ แนวคิดสิทธิทางอาหาร และแนวคิดความมั่นคงทางอาหารด้วย โดยหลักการที่สำคัญของแนวคิดอธิปไตยทางอาหาร คือ การเรียกร้องสิทธิในการกำหนดและตัดสินใจในเรื่องเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะสิทธิในการผลิต และสิทธิของผู้ผลิต ถึงแม้แนวคิดอธิปไตยทางอาหารจะเห็นด้วยกับแนวคิดสิทธิทางอาหารและแนวคิดความมั่นคงทางอาหาร ที่สนับสนุนให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงอาหารอย่างเพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณภาพต่อการดำรงชีวิต แต่แนวคิดอธิปไตยทางอาหารพยายามโต้แย้งว่า วิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าวจะต้องไม่สร้างผลกระทบต่อสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประชาชนบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตรายย่อยที่เป็นกลุ่มคนที่มีทรัพยากร การผลิตที่จำกัดและมีความสามารถในการแข่งขันน้อย อย่างไรก็ตาม แนวคิดอธิปไตยก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงในเรื่องของความไม่ชัดเจนของแนวคิดเช่นกัน เนื่องจากคำนิยามของแนวคิด ยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ยังคงมีความคลุมเครือว่าสิทธิทางอธิปไตยทางอาหาร คือ สิทธิในระดับใด กล่าวคือ เป็นสิทธิของชาติ สิทธิของชุมชน หรือสิทธิของประชาชน นอกจากนี้ ปฏิบัติการของแนวคิดอธิปไตยทางอาหารในปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นแนวทางปฏิบัติที่ใช้เฉพาะกลุ่มองค์กร และกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น หาใช่แนวทางปฏิบัติที่ดำเนินการโดยรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยที่มีอำนาจสูงสุดในการกำหนดและดำเนินนโยบายเพื่อการพัฒนาต่างๆ ในการนำไปสู่การมีชีวิตอยู่ที่ดีของประชาชน ดังนั้น จึงเกิดคำถามว่า แนวคิดอธิปไตยทางอาหารจะทำให้เกิดการพัฒนาได้อย่างไร              This article aims to study about the background, development and core element of food sovereignty concept as well as explore about critical contradictions of food sovereignty concept compared to the concept of the right to food and food security. The methodology in this article is documentary review which composes of primary documents and secondary documents. Primary documents are declarations of La Via Campesina, food sovereignty movement. Secondary documents are studies about food sovereignty concept such as study of Windfur and Josen, 2005, study of Pimbert, 2009, study of Patel, 2009, study of Schanbacher, 2010, study of Beuchelt and Virchow, 2012, study of Agarwal, 2014, and study of Edelman et al, 2014. The study results show that food sovereignty is an alternative food concept developed by transnational peasant and farmer movements in the developing countries fighting against trade liberalization and neoliberal development as well as challenging the existing food concept such as the right to food and food security. The idea of food sovereignty focuses on the right to determine and decide on agriculture and food systems, in particular the right to produce and the right of producer. Although food sovereignty has agreed with the right to food and food security focusing on support people to access to adequate, safe and quality food, its practices in achieving goals, especially increasing food production and agricultural trade liberalization are still debatable. Food sovereignty has argued that practices of the right to food and food security might affect the economic, social and cultural rights of small producers who have limited resources and lack of comparative advantage. Therefore, food sovereignty requires to protect the rights of such producers. However, food sovereignty was argued that it is the fuzzy concept because its definition is changed over time. It is unclear for whom the right to food sovereignty is intended, namely the right of the state, the right of community or the right of people. In addition, food sovereignty is still currently applied by some organizations and some groups and it isn’t implemented by the state who is the most powerful unit in determining development policies. Thus, food sovereignty is questionable how can it bring to the development.

Downloads