ตัวแบบการติดตามนโยบายความมั่นคง

Authors

  • ทนาย เพิ่มพูล

Keywords:

ตัวแบบ, การติดตาม, นโยบาย, ความมั่นคง

Abstract

          บทความนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมเพื่อสร้างตัวแบบสำหรับติดตามนโยบาย ความมั่นคงในบริบทของไทย ซึ่งนโยบายความมั่นคงนับเป็นนโยบายสาธารณะประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะเป็น “แนวทางดำเนินกิจกรรมของรัฐที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคง” ทั้งจากภัยคุกคามแบบดั้งเดิมและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ในการนำนโยบายความมั่นคงไปปฏิบัติให้การแก้ปัญหาบรรลุปัญหาตามแต่ละวัตถุประสงค์นั้น รัฐบาลอาจใช้อำนาจพิเศษที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ด้วยเหตุนี้ นอกเหนือจากการติดตามความสำเร็จในเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้ว ตัวแบบนี้จึงเสนอให้ติดตามผลกระทบต่อความเท่าเทียมและเสรีภาพของประชาชนด้วย          ตัวแบบในการติดตามนโยบายความมั่นคงในบริบทของไทยที่เสนอ พัฒนามาจากการประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการในลักษณะของตัวแบบเชิงระบบ เป็นการพรรณนาเพื่อสร้างข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่สังเกตได้ของนโยบายความมั่นคงประกอบด้วย 1) การติดตามกระบวนการ เป็นการติดตามในประเด็นที่เกี่ยวกับการนำนโยบายความมั่นคงไปปฏิบัติ ประกอบด้วยประเด็นย่อยด้านทรัพยากร เส้นทางนโยบาย กระบวนการและกลไก และภาคี 2) การติดตามผลผลิต เป็นการติดตามประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบาย ประกอบด้วยการวัดจำนวนเจ้าหน้าที่ความมั่นคงที่สูญเสียในปฏิบัติการ (เสียชีวิต สูญหาย บาดเจ็บ และถูกจับตัวไป) จำนวนยุทโธปกรณ์ของฝ่ายความมั่นคงที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือถูกยึดไประหว่างปฏิบัติการ ระดับความสำเร็จของผลการบริหารงบประมาณ และระดับความสำเร็จของผลผลิตตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อ และ 3) การติดตามผลลัพธ์ มุ่งไปที่ประชาชนผู้รับผลจากการดำเนินนโยบาย ประกอบด้วย การติดตามประสิทธิผลในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อของนโยบาย (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลประโยชน์แห่งชาติ เช่น การป้องกันประเทศ การสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ การรักษาค่านิยม และการมีระเบียบโลกที่ต้องการ) รวมทั้งการติดตามการอำนวยให้เกิดความเท่าเทียมในการดำเนินนโยบาย และการติดตามการอำนวยให้เกิดเสรีภาพในการดำเนินนโยบาย           This article is a literature review to create a model for monitoring a security policy in Thailand context. A security policy is a kind of specific public policy. It is an approach for state’s activities which is set for solving security problems both from Traditional threats and Non-traditional threats. In implementing a security policy to win the threats which is policy objectives, the government may need to use its special power which may limit human rights. By this reason, the issues of monitoring a security policy are more than efficiency and effectiveness. Also, this model uses equity and freedom as issues to be monitored for a security policy.          A model for monitoring a security policy is developed from a systemic model of policy, program and project evaluation. It uses a descriptive method for create information about observed policy outcomes of the security policy. The model composes of: 1) Monitoring the process. It is monitoring issues of security policy implementation those are resources, policy paths, process and mechanisms, and partners. 2) Monitoring the output that is efficiency monitoring which composes of measuring number of security personnel casualties (killed, missing, wounded, or captured in action), number of security equipment destroyed, missing, or captured in action, a level of success in budget execution, and a level of success of every policy’s objective production. Lastly, 3) Monitoring the outcome. Looking at the stakeholders of the policy, the issues are effectiveness of every policy’s objectives (parts of national interests such as defense of homeland, economic prosperity, promotion of values, and favorable world order), equity, and freedom in policy implementation.

Downloads