มาตรการทางกฎหมายอาญาเกี่ยวกับผู้ทำละเมิดโดยรู้ว่าตนไม่สามารถชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้

Authors

  • ประทีป ทับอัตตานนท์
  • จิดาภา พรยิ่ง

Keywords:

มาตรการทางกฎหมายอาญา, ละเมิด, ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

Abstract

          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” และในมาตรา 439 ถึง มาตรา 446 ได้กำหนดเงื่อนไขและจำนวนเงินในค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่ผู้ทำละเมิดไม่ชำระค่าสินไหมทดแทน ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิในการฟ้องร้องผู้ทำละเมิดเป็นคดีแพ่งได้ และเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว หากผู้ทำละเมิดไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้เสียหายหรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึด อายัดทรัพย์สินของผู้ทำละเมิดในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ และหากลูกหนี้ตามคำพิพากษามีทรัพย์สินแต่ปิดบังไม่ยอมให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิขอให้ศาลมีหมายเรียกลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นมาสอบถามและหากได้ข้อเท็จจริงตามนั้น ศาลมีอำนาจกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297 แต่หากผู้ทำละเมิดนั้นไม่มีทรัพย์สินใด ๆ เลยในการบังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้นก็ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้เลย          กรณีที่ผู้ทำละเมิดที่รู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีทรัพย์สินใดในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่สมาชิกในสังคมและไม่เข้าเงื่อนไขในองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงที่มีสาระสำคัญว่า “โดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม...” ในขณะเดียวกันก็มีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 345 ที่กำหนดความรับผิดกรณีที่ผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีเงินชำระค่าอาหาร เครื่องดื่ม หรือค่าที่พัก แล้วได้บริโภคอาหาร หรือเข้าที่พักในโรงแรม เป็นความผิดฐานฉ้อโกง หรือตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ที่คุ้มครองผู้ถือเช็ค ทั้งที่มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดความรับผิดของผู้ออกเช็คแล้ว และมีประมวลกฎหมายฝรั่งเศส มาตรา 313-5 ประมวลกฎหมายอาญาเยอรมนี มาตรา 265(a) ประมวลกฎหมายสวิส มาตรา 149 และ 150 ประมวลกฎหมายของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย มาตรา 537(a) ที่บัญญัติความรับผิดทางอาญาในลักษณะคล้ายคลึงกัน          ดังนั้น รัฐจึงควรกำหนดความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการทำละเมิดที่ผู้ทำละเมิดรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีเงินในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย ทั้งนี้เพื่อเยียวยาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากผู้ทำละเมิด และเพื่อการป้องปรามการกระทำความผิดในลักษณะเช่นนี้           According to Section 420 of the Civil and Commercial Code, it is stated that "A person who, willfully or negligently, unlawfully injures the life, body, health, liberty, property or any right of another person, is said to commit a wrongful act and is bound to make compensation therefore." Further, in Section 439 to Section 446, it is also stated that the Court shall determine the manner and the extent of the compensation according to the circumstances. In the case that a tort-feasor does not pay for compensation, the injured person is entitled to bring a civil lawsuit for the tort-feasor. However, after the Court has given judgment and the tort-feasor has still not paid the judgment debt, the injured person, or the judgment creditor, is entitled by law to bring an executing officer to seize or attach the property of the tort - feasor as the judgment debtor. Provided that the judgment has property but refuses to pay for the debt, the judgment creditor is entitled to request the Court to issue a summon to appear on the judgment debtor for fact investigation. The Court has the power to order the detention of the judgment debtor according to Section 297 of the Code of Civil Procedure. However, if the tort - feasor has no property for compulsory execution, there is no way open to the judgment creditor of securing execution.          In the case that a tort - feasor knowing that he/ she has not any property to pay for the compensation to the injured person that causes grievance to members of the society; however, this action is not included in the condition of the elements of defraud offences. Defraud is defined as "... by deceit, fraudulent means, presenting false statements or concealing facts that should be informed, and the said fraudulent acts having gained property or money from a deceived person or the third party." Meanwhile, it is stated in Section 345 of the Criminal code concerning liability in the case that an offender knowing that he cannot pay money for the food, drink or the stay in the hotel is considered as an offence of cheating and fraud. However, there is still the Act promulgating liability for misuse of cheques B.E. 2534 which is the law to protect the cheque providers, even though there is already the Civil and Commercial Code stating about liability of the cheque providers. Likewise, Sections 313-5 of the French Code, Section 265(a) of the German Criminal Code, Sections 149 and 150 of the Swiss, and Section 537(a) of the State of California Code in which criminal liability is also prescribed in similarity.          Consequently, the Government should define the term of criminal liability concerning tort in the case that a tort - feasor knowing that he is unable to pay compensation to the injured person. It should be done to remedy the injury that may occur from or caused by a tort - feasor in order to prevent such an offence as said.

Downloads