ความเบื้องต้นเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามกฎหมายอิตาลี

Authors

  • กาญจนา ปัญญานนท์

Keywords:

การอุทธรณ์, คำสั่งทางปกครอง, กฎหมายปกครองอิตาลี, วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง, ศาลปกครอง

Abstract

          สาธารณรัฐอิตาลีเป็นประเทศหนึ่งที่มีการพัฒนาหลักกฎหมายปกครองเป็นอย่างมาก ตามกฎหมายอิตาลีการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองเป็นหนึ่งในการเยียวยาความผิดพลาดอันเกิดจากคาสั่งทางปกครอง โดยหน่วยงานอาจหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเองหรือประชาชนเป็นผู้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งนั้น บทความนี้มุ่งหมายที่จะอธิบายหลักการทั่วไปและลักษณะพิเศษบางประการของการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามกฎหมายอิตาลี เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความคล้ายคลึงและ ความแตกต่างกับกฎหมายไทย จะเห็นได้ว่าโดยทั่วไปแล้วการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองของทั้งสองประเทศมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ในการอุทธรณ์เพื่อให้ฝ่ายปกครองได้มีโอกาสทบทวนคำสั่งของตน การที่ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือหากผู้อุทธรณ์ยังไม่พอใจผลการวินิจฉัยอุทธรณ์ก็สามารถคดีนำไปฟ้องต่อศาลปกครองได้ อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างจากกฎหมายไทยในหลายประเด็นด้วยกัน เช่น ในขณะที่ระบบการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองของไทยเป็นระบบอุทธรณ์บังคับ หากคู่กรณีที่ประสงค์จะใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งทางปกครองต่อศาลปกครองจำเป็นที่จะต้องอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองเสียก่อน แต่การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองของอิตาลี นับแต่ปี ค.ศ. 1971 เป็นต้นมา นั้นเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของคู่กรณีในการโต้แย้งคำสั่งทางปกครอง หรือประเภทของการอุทธรณ์คำสั่งตามกฎหมายอิตาลีซึ่งกฎหมายกำหนดไว้หลายประเภทกว่ากฎหมายไทย หรือบางประเด็นที่กฎหมายไทยยังไม่ได้กำหนดเอาไว้ แต่ในอิตาลีมีพัฒนาการในเรื่องนั้นเป็นอย่างมาก เช่น สถานะของการนิ่งของฝ่ายปกครอง หรือทฤษฎีสถานะทางกฎหมายของคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เป็นต้น           Italy has a highly developed system of administrative law. One of administrative remedies is an appeal of the administrative decision that might be prompted ex officio or by a citizen. This article has objective to describe some of the specific aspects of appeals of administrative decision under Italian law to compare the similar and different characteristic from Thai law. The similar aspect is the both systems have the same purpose to review an administrative decision and the agency has a duty to decide the appeal, and the appellant has a right to obtain a decision within deadline. If the appellant is not satisfied of the result or if the appeal is rejected, the appellant may apply to the Administrative Court. However, there are many different aspects between two systems. While in Italy, since 1971, the hierarchical appeal is no more a condition or precedent for judicial review. Differently from Thai system that the appeal is necessary, since the complainant may not appeal to court before exhausting hierarchical remedies. Besides, in Italy, there are more stages or classes of administrative remedies: an appeal to the same authority; the hierarchical appeal; or appeal addressed to the President of the Italian Republic. Furthermore, in Italy, there are many interested theories to explain the status of the silence of the administrative agency or the status of appeals decision, while our law didn’t provide yet.

Downloads