การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญา

Authors

  • พรเพชร ชลศักดิ์ตระกูล
  • สุนีย์ มัลลิกะมาลย์
  • สุรสิทธิ์ แสงวิโรจนพัฒน์

Keywords:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, ผู้พิพากษาสมทบ, คดีอาญา

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่มีความเหมาะสมกับบริบทประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในอำนาจตุลาการ พัฒนากระบวนการยุติธรรมและระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก          ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญามีระบบลูกขุน ผู้พิพากษาสมทบ และพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับศาลอาญาไทย คือ ระบบผู้พิพากษาสมทบ การวิจัยได้จัดทำกฎหมายต้นแบบเป็นร่างพระราชบัญญัติ ผู้พิพากษาสมทบในคดีอาญา พ.ศ. .... มี 5 หมวด 20 มาตรา และบทเฉพาะกาล มีสาระสำคัญ ของบทบัญญัติประกอบด้วย คุณสมบัติของผู้พิพากษาสมทบ การได้มาของผู้พิพากษาสมทบ การดำรงตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบ อำนาจหน้าที่ผู้พิพากษาสมทบ และการอุทธรณ์และฎีกา          การวิจัยมีข้อเสนอแนะให้ผลักดันร่างพระราชบัญญัติผู้พิพากษาสมทบในคดีอาญา พ.ศ. .... เข้าสู่คณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบและเข้าสู่กระบวนการตรากฎหมายตามลำดับชั้นต่อไป และให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมตรากฎหมายฉบับรอง คือ ระเบียบคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในคดีอาญา ข้อเสนอแนะหัวข้อวิจัยต่อไป คือ การมีผู้พิพากษาสมทบในศาลภาษีอากร ศาลล้มละลาย ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ และในคดีที่มีการพิจารณาแบบกลุ่ม           The purpose of this research is to find out the public participation patterns in criminal trial which is appropriate for Thai context. This is to support public participation in judicial authority and to develop judicial system and democracy regime in Thailand. This study uses the Qualitative Research Methodology that consists of documentary research and in-depth interview.           This study found that the patterns of public participation in the criminal justice are the jury, lay judge, and expert witness system. The appropriate pattern for Criminal Courts in Thailand is the lay judge system. This research drafts the model law on Lay Judge in Criminal Cases B. E. …, consisting of 5 chapters, 20 sections, and transitory provisions, and the significance of the provisions comprising of the qualification, acquisition, tenure, authority and duty of the lay judge, and appeal to courts of appeal or to the Supreme Court.          The research suggests that the draft of Lay Judge in Criminal Cases B. E. … should be promoted for the cabinet’s approval and the draft of Lay Judge in Criminal Cases BE… legislation procedure respectively and that the judiciary committee of Court of Justice enacts the secondary legislation, that is, the judiciary committee regulation on the recruitment criteria and procedure for the lay judge position in the criminal cases. Recommendation for further study should be the presence of the lay judge in the tax court, the bankruptcy court, the appeals court in special provisions, and in the case of class action.

Downloads