มหายุทธศาสตร์ : จากจักรวรรดิโรมัน สู่ยุคสงครามเย็น

Authors

  • สนธิ นวกุล
  • สุภานี นวกุล

Keywords:

มหายุทธศาสตร์, จักรวรรดิโรมัน, จักรวรรดิออตโตมัน, สงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเย็น

Abstract

          “มหายุทธศาสตร์ : จากจักรวรรดิโรมัน สู่ยุคสงครามเย็น” ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับมหายุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นศิลป์ในการปกครองประเทศระดับสูงสุด ครอบคลุมทั้งด้านการทหาร การทูต การเมือง เศรษฐกิจ และพลังอำนาจอื่นๆ ที่จะบรรลุผลประโยชน์ของชาติ เป็นแนวคิดที่ครอบคลุมถึงในยามสงบ บทความนี้ ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างของมหายุทธศาสตร์ในแต่ละยุคสมัย โดยจักรวรรดิโรมัน จะเน้นยุทธศาสตร์ทางการทหารเพื่อความมั่นคงของอาณาจักรเป็นหลัก ต่อมามหายุทธศาสตร์ในสมัยจักรวรรดิออตโตมันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะบูรณาการ โดยใช้ทั้งยุทธศาสตร์ทางการทหารในการป้องกันชายแดนจากศัตรูภายนอก การดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศ และการสร้างความเข้มแข็งให้กับพลังอำนาจภายใน ส่วนมหายุทธศาสตร์ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการแสวงหาวิธีการใหม่ ที่จะไม่ทำสงครามแบบดั้งเดิม เช่น การใช้ระเบิดนิวเคลียร์ ทำให้นานาประเทศเกิดความหวาดกลัว ซึ่งส่งผลให้มหายุทธศาสตร์ในยุคสงครามเย็น มีความพยายามที่จะควบคุมอาวุธทำลายล้าง และเน้นที่การปฏิบัติการจิตวิทยาและการใช้จ่ายงบประมาณในการช่วยเหลือและพัฒนาประเทศที่เป็นพันธมิตรของสองมหาอำนาจ           This article illustrates the concept of grand strategy as the highest level of national statecraft which consists of military, diplomacy, politics, economy and other national powers to achieve national interests. The concept includes peacetime. The grand strategies of Roman Empire, Ottoman Empire, World War II and Cold War are different. The grand strategy of Roman Empire focuses on military strategy to secure the nation; whereas, Ottoman Empire uses the integrated grand strategy being composed of military strategy to defend the enemy outside, foreign policies and internal national power strengthening. Additionally, WW II grand strategy keeps away from traditional warfare and seeks a new method such as nuclear bombs which have an impact on global fear. As a result, the grand strategy of cold war attempts to control weapons of mass destruction and emphasizes psychological operations and budget spending to assist and develop the allies of both superpowers.

Downloads