ขบวนการทางสังคมของคนพิการในการขับเคลื่อนสิทธิด้านการประกอบอาชีพ และการมีงานทำให้เป็น จริง
Keywords:
ขบวนการทางสังคม, คนพิการ, การประกอบอาชีพ, ภาวะการมีงานทำAbstract
การมีอาชีพมีงานทำเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอิสระ การมีงานทำของคนพิการยังเป็นประเด็นที่ท้าทายด้วยรายงานทางสถิติแต่ละปีของแต่ละสำนัก ล้วนสอดคล้องกันว่าคนพิการส่วนใหญ่ไม่มีงานทำ แม้ว่าคนพิการเหล่านั้นมีศักยภาพในการทำงาน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการรวมกลุ่มและการขับเคลื่อนของคนพิการในการทำสิทธิด้านการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนพิการเป็นจริงเป็นบทเรียนและแนวทางเพื่อการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องต่อไป ผู้เขียนใช้กรอบแนวคิดขบวนการทางสังคมใหม่ (New Social Movement) ศึกษาการรวมกลุ่มและการขับเคลื่อนสิทธิคนพิการ นำเสนอเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Approach) ถึงการต่อสู้ดิ้นรนของคนพิการแต่ละประเภทตั้งแต่ช่วงปี 2480 ถึงปี 2550 กลุ่มคนพิการมีการรวมตัวและต่อสู้ดิ้นรนแบบแยกส่วน การรวมตัวของคนพิการใช้ยุทธศาสตร์มวลชนกดดันเพื่อขอโควต้าสลากกินแบ่งรัฐบาลของกลุ่มคนตาบอด บทบาทของสภาคนพิการและองค์กรของคนพิการระดับชาติเน้นยุทธศาสตร์การทำงานร่วม เพื่อให้เกิดกฎหมายและการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ขบวนการทางสังคมของคนพิการในการทำให้คนพิการมีอาชีพและมีงานทำนั้นแผ่วเบากว่าการระดับความสำคัญของเรื่องการมีอาชีพมีงานทำของคนพิการจึงเป็นอัตราส่วนที่น้อยกว่าอัตราการไม่มีงานทำของคนพิการ ขบวนการทางสังคมของคนพิการเกิดขึ้นจากการรวมตัวและต่อสู้ดิ้นรนของคนพิการแต่ละประเภท ต่อมามีการรวมกลุ่มเป็นสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย ผลักดันให้มีกฎหมาย นโยบายและการปฏิบัติเพื่อให้สิทธิคนพิการเป็นจริง โดยใช้ 3 ยุทธศาสตร์คือ 1) การทำงานร่วม 2) การใช้มวลชนกดดัน และ 3) การใช้ความรู้ในระดับสากล การรวมกลุ่มประสบความสำเร็จในการผลักดันกฎหมายและนโยบายแต่การปฏิบัติเพื่อให้คนพิการมีงานทำยังเป็นความท้าทายด้วยจำนวนคนพิการที่มีงานทำเพียงร้อยละ 13 ของจำนวนคนพิการทั้งหมด จึงเป็นความท้าทายของผู้นำคนพิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สานพลัง คิดค้นแนวปฏิบัติ และขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อให้คนพิการได้ประกอบอาชีพและมีงานทำ สามารถดำรงชีวิตอิสระและเป็นพลเมืองที่สร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจได้เต็มศักยภาพนำไปสู่สังคมที่อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน Employment is a major key factor for People with Disabilities in their aim to live independently. Many statistical reports from across various sectors show that most PWD are unemployed even though they should have the ability and potential to find suitable employment. This article illustrates a social movement of PWD to enforce their rights to work. This historical report approach shows the situation of PWD since a group was formed, 1947, to lobby the government for their rights, resulting in the government enacting the Empowerment of People with Disabilities Act 2007. New Social Movement is used as conceptual framework of the report. The disability movement was formed by each group of disabilities later united as National Council of Persons with Disabilities called Disabilities Thailand (DTH). DTH campaigned for Law, Policy and Practice to promote employment with 3 strategies; 1) Collaborating 2) Pressure group and 3) Imply international knowledge. Collective movement of PWD success to promote law and policy, but employment rate among PWD’s just only 13%. It’s challenging for leaders with disabilities, Ministry of Labour, Ministry of Social Development and Human Security and related organization to learn from each other, synergy, find the practical ways and moving forward together to promote work and employment for peoples with disabilities. PWD would be able to live independently, be economy productive member with full potential to create an inclusive society.Downloads
Issue
Section
Articles