การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนา การให้บริการประชาชน : กรณีศึกษาระบบสารสนเทศ ที่ดินของกรมที่ดิน

Authors

  • รุ่งทิวา เงินปัน
  • ดำรงค์ วัฒนา

Keywords:

การยอมรับ, เทคโนโลยีสารสนเทศ, ที่ดิน, คอมพิวเตอร์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมและการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินในการให้บริการประชาชนของเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ เจ้าหน้าที่กรมที่ดินที่ใช้ระบบงานในสำนักงานที่ดิน ตามโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดิน ระยะที่ 1 จำนวน 73 แห่ง เครื่องมือวิจัยใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถามที่ได้ประยุกต์มาจากทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model) จำนวน 306 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลด้วยโปรแกรม AMOS ผลการวิจัยพบว่า          1. ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์กับงานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของสารสนเทศของเจ้าหน้าที่กรมที่ดินมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2= 100.228, df= 98, P-value = .419, X2 / df =1.023, CFI = .999, GFI = .964, AGFI = .943, RMR = .010, RMSE = .009)          2. ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการรับรู้ความง่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน          3. การรับรู้ความง่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการรับรู้ประโยชน์ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน          4. การรับรู้ประโยชน์ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทัศนคติที่มีต่อการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินและพฤติกรรมในการตั้งใจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน          5. ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมในการตั้งใจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน          6. พฤติกรรมในการตั้งใจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดิน            The purpose of this research is to study the behavior and Land Information Technology acceptance in public service of the Department of Lands officers. This research’s sample is the land officers who apply the Land Office system according to the developing land information technology on the phase one with 306 people in 73 venues. The material which was used to collect the data is questionnaire. This research’s data were analyzed by employing statistical tools, such as, frequency, percentage, mean, standard deviation, factor analysis, and path analysis as well as Structural Equation Model (SEM). The results illustrated that:          1. The causal relationship between computer self-efficacy factors leading to information technology acceptance of land officers was formed as a model fitting the empirical information. (X2 =100.228, df = 98, P-value = .419, X2 / df =1.023, CFI = .999, GFI = .964, AGFI = .943, RMR = .010, RMSEA = .024)          2. The officers’ Computer Self Efficacy in land information technology had a significant to perceived ease of use in land information technology.          3. The officers’ Perceived ease of use in land information technology has a significant to Perceived usefulness in land information technology.          4. The officers’ Perceived usefulness in land information technology has a significant to the attitude toward using in land information technology and behavior intentions to use in land information technology.          5. The officers’ Attitude toward using in land information technology has a significant to behavior intentions to use in land information technology.          6. The officers’ Behavior intentions to use in land information technology has a significant to Actual Use of land information technology.

Downloads