สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นหลักคิดและความเป็นจริงทางสังคม : กรณีศึกษา พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก

Authors

  • พิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
  • ชัยณรงค์ เครือนวน

Keywords:

สิทธิชุมชน, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, ทะเลฝั่งตะวันออก

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พลวัตรของแนวคิดสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เงื่อนไขเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อความสำเร็จ และปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดการจัดการทรัพยากรชายฝั่งในชุมชนที่เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า พลวัตรของแนวคิดสิทธิชุมชน สามารถแบ่งเป็น 4 ช่วงความคิด คือ สิทธิชุมชนก่อนการสถาปนารัฐชาติ สิทธิชุมชนยุคสถาปนารัฐชาติ สิทธิชุมชนยุคการพัฒนา และสิทธิชุมชนที่ถูกรับรองโดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ส่วนเงื่อนไขเชิงโครงสร้างที่มีผลต่อความสำเร็จ ประกอบด้วยเงื่อนไขสำคัญ เช่น ความสามารถออกแบบสถาบันทางสังคมของชุมชน ความสามารถสร้างกติกาและบังคับใช้กติกากับผู้ใช้ประโยชน์ในชุมชน ความสามารถสร้าง กระชับ และขยายเครือข่าย เป็นต้น สำหรับสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ประกอบด้วย ผู้ใช้ประโยชน์ภายนอกไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาของชุมชน ข้อจำกัดด้านองค์ความรู้ของชุมชน โครงสร้างอำนาจการจัดการทรัพยากรที่รัฐมีบทบาทเหนือกว่าชุมชน ความแตกต่างของกระบวนทัศน์การจัดการทรัพยากรระหว่างรัฐกับชุมชน การขาดกฎหมายลำดับรองที่รับรองการใช้สิทธิชุมชน ประสิทธิภาพของกระบวนการสอดส่อง ดูแล รวมทั้งความไม่เข้มแข็งและยั่งยืนของสถาบันทางสังคมที่ถูกจัดตั้งโดยชุมชน           This research aims to study the dynamics of concept of community rights in natural resource management, structural conditions affecting success, problems, obstacles, and cases study on limitations of coastal resource management in communities. The research found that the dynamics of concept of community rights can be divided into 4 periods; community rights before the establishment of the national state, community rights in the era of the national state, community rights in the development era and community rights that are guaranteed by the provisions of the Constitution. In the structural condition aspect, the research has found that the important conditions that affect success are the ability to design a social institution of the community, the ability to create rules and enforce rules with community users’ ability to build, tighten and expand networks. Problems, obstacles and limitations which prevent successful coastal resource management consists of lack of compliance with the rules by external users, community rules and community knowledge limit the power of resource management in which the state plays a greater role than the community, differences in the state resource management paradigm, the lack of a secondary law that guarantees the use of community rights, the efficiency of the surveillance process, including the strength and sustainability of social institutions established by the community

Downloads

Published

2021-04-20