ธรรมาภิบาลในยุคดิจิทัล : บทบาทของหน่วยงานกลางในการส่งเสริมการเป็นรัฐบาลแบบเปิดในประเทศไทย
Keywords:
ธรรมาภิบาล, การบริหารงานภาครัฐ, ยุคดิจิทัล, หน่วยงานกลาง, รัฐบาลแบบเปิดAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางด้านการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมการเป็นรัฐบาลแบบเปิด และเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการศึกษารัฐบาลแบบเปิด การวิจัยเรื่องนี้ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เป็นวิธีหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ ประกอบด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ผลการวิจัยพบว่า สพร. มีบทบาทในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมการเป็นรัฐบาลแบบเปิด อาทิ การเปิดเผยข้อมูลผ่านเว็บพอร์ทัล แอปพลิเคชันบนมือถือ ตู้บริการเอนกประสงค์ภาครัฐ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเป็นไปตามหลักสามองค์ประกอบสำคัญของรัฐบาลแบบเปิด ได้แก่ ด้านการสนับสนุนข้อมูลสาธารณะ ด้านการเข้าถึงข้อมูลแบบเสรี และด้านความผูกพันแบบเปิด อย่างไรก็ตาม สพร. กำลังเผชิญปัญหาและข้อจำกัดในการส่งเสริมรัฐบาลแบบเปิดหลายด้าน อาทิ ความไม่ชัดเจนของนโยบายและแนวทางปฏิบัติ การขาดระบบแลกเปลี่ยนข้อมูล ปัญหาข้อมูลคุณภาพต่ำ การหวงข้อมูล และความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการวางแผนแก้ไขปัญหา โดยมีเป้าหมายไปสู่การเป็นรัฐบาลแบบเปิดที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการยกระดับความโปร่งใสในการบริหารงานภาครัฐในยุคดิจิทัล The purpose of this research were to (1) understand the role of the Digital Government Development Agency (DGA), the central agency, in applying digital technology to promote and support Open Government in Thailand; (2) to provide new body of academic knowledge in Open Government. The research applied qualitative method mainly using interview approaches; semi structured and in-depth interviews, to gather primary information from target respondents who are experienced and well-versed in digital technology. The findings were that the DGA has played important roles in promoting Open Government in Thailand. Digital technologies such as web portals, mobile applications, smart kiosks, and social network had been applied to enhance transparency, encourage e-participation, and build e-collaboration between the DGA and other agencies. The three essential components of Open Government; Open Data, Open Access, and Open Engagement were implemented. The agency, however, still confronts with various problems and limitations such as a lack of policy and implementation clarity, a lack of data exchange network system, low values of collected information, refusal of inter-cooperation in data exchange, and digital divide. It is necessary to initiate partnership with every sector to deal with the challenges, aiming towards open government that all agencies are engaging in enhancing transparency for public administration in digital era.Downloads
Published
2021-04-20
Issue
Section
Articles