ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

Authors

  • ศิริพร นาทันริ
  • ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร
  • วิเชียร วิทยอุดม

Keywords:

ภาวะผู้นำ, ประสิทธิผล, สำนักงานเขตหนองแขม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขต หนองแขม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม จำนวน 235 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีกรณีสองประชากรเป็นอิสระกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวน หากพบความแตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี LSD (Least Significant Difference) และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) การเปรียบเทียบประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงานในองค์กร มีผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ยกเว้น สถานภาพ ระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่าง รูปแบบภาวะผู้นำ กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พบว่า ภาวะผู้นำแบบสนับสนุน ภาวะผู้นำแบบมุ่งผลสำเร็จ ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ภาวะผู้นำแบบสั่งการ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ในทุกด้านและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05           The objectives of this research were: 1) to compare effectiveness of personnel’s performance of Nongkham District Office, Bangkok, classified by personal factors; and 2) to study on the relationship between leadership and effectiveness of personnel’s performance of Nongkham District Office, Bangkok. The sample group was consisted of 235 personnel of Nongkham District Office. Questionnaire was used as a tool for collecting data. Statistics used for analyzing data were frequency, percentage, mean, and Standard Deviation. Statistics used in hypothesis testing were Independent Samples t-test, One-way, and ANOVA. In the event of any difference, it was tested by using difference test in pairs through LSD (Least Significant Difference).The relationship was tested by using Pearson’s Correlation Coefficient.          The results revealed that: 1) From comparing effectiveness on performance of personnel of Nongkham District Office, Bangkok, classified by personal factors, it was found that gender, age, and duration of service year influenced on effectiveness of performance differently except while there was no difference found in personal factors on status and educational level with statistical significance at 0.05; and 2) For the relationship between leadership style and effectiveness of personnel’s performance of Nongkham District Office, Bangkok, it was found that supportive leadership, achievement-oriented leadership, participative leadership, and directive leadership had the relationship with effectiveness of performance in low level in all dimensions and they were under the same direction with statistical significance at 0.05.

Downloads

Published

2021-04-20