ภาวะผู้นำขององค์การไม่แสวงหากำไรด้านความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย

Authors

  • ชนินทร์ จักรภพโยธิน

Keywords:

ภาวะผู้นำ, องค์การไม่แสวงหากำไร, ความหลากหลายทางเพศ

Abstract

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาภาวะผู้นำขององค์การไม่แสวงหากำไรด้านความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำขององค์การไม่แสวงหากำไรด้านความหลากหลายทางเพศ จำแนกตามขนาดขององค์การ ได้แก่ องค์การขนาดเล็ก องค์การขนาดกลาง และองค์การขนาดใหญ่          วิธีการดำเนินวิจัย ใช้วิธีการวิจัยคุณภาพ ในลักษณะของกรณีศึกษา (Case Studies) 3 องค์การ โดยเก็บข้อมูลจากการศึกษา และวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกต กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารขององค์การ บุคลากรภายในองค์การไม่แสวงหากำไรด้านความหลากหลายทางเพศ ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีการแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือการวิจัย ใช้แบบสัมภาษณ์ เครื่องบันทึกเสียง สมุดบันทึก และตัวผู้วิจัยเองในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล โดยการจำแนกประเภทข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ การแจงนับข้อมูลจากคำตอบในข้อคำถามที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของลักษณะผู้นำ และการหาความคล้ายคลึงของข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ          ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำขององค์การไม่แสวงหากำไรแต่ละขนาด มีความรูปแบบภาวะผู้นำที่แตกต่างกัน โดยองค์การขนาดใหญ่ภาวะผู้นำเป็นแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) องค์การขนาดกลางภาวะผู้นำเป็นแบบมุ่งเน้นความสัมพันธ์ (Consideration Leadership) และองค์การขนาดเล็ก ภาวะผู้นำเป็นแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership)          ข้อเสนอแนะ องค์การจะสร้างผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับองค์การแล้ว จำเป็นจะต้องสร้างรูปแบบภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับกับองค์การตนเอง โดยพิจารณาถึงประเภทขององค์การ โครงสร้างองค์การ วิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การ รวมวัฒนธรรมและบุคลากรองค์การ           This article aims to 1) explore the leadership of non-profit organizations regarding sexually-diverse groups in Thailand, 2) compare the leadership of non-profit organizations regarding sexually-diverse groups classified via the organization sizes which are small, medium, and large organizations.          Regarding research methodology, the qualitative research was conducted through the Case Studies method from 3 organizations by data collection from the documents study and analysis, the interview, and the observation. The key informants were; organization leaders and non-profit organization employees. In terms of sexually-diverse groups, the key informants were chosen via purposive sampling method. The research instruments were interview, tape recorder, note, and the researcher who collected and analyzed data through classification, distribution and categorization. The data enumeration was conducted from the responses which related to the leadership indicator and data similarity gaining from the informants.          The results showed that the leadership of each non-profit organization was different. The large organization was Transformational Leadership whereas the medium organization   was Consideration Leadership, and the small organization was Democratic Leadership.          In terms of the research suggestion, each organization should build up the appropriate leadership model for its leader according to types of organization, structure, vision and mission including its culture and employees.

Downloads

Published

2021-04-20