การออกแบบระบบมาตรฐานด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐในเรื่องระบบบริการภาคเอกชนและประชาชน (P.S.O. 1107) ของโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์
Keywords:
การดำเนินการภาคเอกชน, เกณฑ์การจัดการ, การบริการสุขภาพ, ความเท่าเทียม, ความรับผิดชอบAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการจัดการในรูปแบบภาคเอกชนของโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ โดยนำ 5 ส่วนประกอบหลักจากระบบการบริการภาคเอกชนและประชาชนจากมาตราฐานด้านการจัดการและสัมฤทธิ์ผลของงานภาครัฐมาใช้เป็นกรอบแนวคิด ว่าด้วยเรื่อง ประสิทธิภาพคุณภาพ ความเท่าเทียม การตอบสนอง และความพร้อมในการให้บริการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างระบบการจัดการมาตราฐานโรงพยาบาลภาครัฐในรูปแบบเอกชน การวิจัยเรื่องนี้ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารจากข้อปฎิบัติในระบบการบริการภาคเอกชนและประชาชน และงานวรรณกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กรอบความคิดการดำเนินการรูปแบบเอกชนและการบริการสาธารณสุข เพื่อใช้อธิบายว่าการนำรูปแบบการดำเนินการแบบเอกชนมาใช้ในภาคสาธารณสุขสามารถสร้างค่านิยมทางสังคมและส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรได้บ้าง อีกหนึ่งวิธีที่ใช้คือ วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อที่จะสามารถได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและตรงตามสาระสำคัญสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า การนำรูปแบบการดำเนินการภาคเอกชนมาใช้ในโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถพัฒนาได้ในระดับหนึ่ง เช่น เรื่องประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรบุคคลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประสิทธิภาพในพัฒนาทางการเงิน ประสิทธิภาพในการให้บริการการวดเร็วยิ่งขึ้น หรือเรื่องคุณภาพของการให้บริการสุขภาพที่ได้รับการรับรองจากมาตราฐานสากล JCI ซึ่งทาให้โรงพยาบาลศิริราชปิยิมหาราชการุณย์สามารถยกระดับการบริการด้านสุขภาพให้ดีกว่าโรงพยาบาลศิริราช ภาครัฐ ที่ยึดปฏิบัติตามเกณฑ์มาตราฐาน HA อย่างไรก็ตาม ทั้งสองโรงพยาบาลยึดมั่นในคุณภาพการรักษาเดียวกัน ถึงแม้ว่าโครงการบริการการแพทย์ในรูปแบบเอกชนจะตอบสนองความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่สามารถจ่ายได้ ข้อเสียที่ปรากฎขึ้นจากการก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ คือ ปัญหาเรื่องความไม่เท่าเทียม เช่น อุปสรรคทางการเงินที่เกิดจากให้บริการสุขภาพรูปแบบเอกชน อุปสรรคในการเข้าถึงการให้บริการสำหรับผู้ป่วยที่มีข้อกำจัดเรื่องการใช้จ่ายซึ่งเกิดจากการติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกแบบเอกชน และอุปสรรคทางวัฒนธรรมทางองค์กรที่ส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์ปฎิบัติตนไม่เป็นธรรมหลังจากนำรูปแบบการดำเนินการภาคเอกชนมาปรับใช้ในโรงพยาบาล The objectives of this research were to (1) study the privatized management system of Siriraj Piyamaharajkarun Hospital by using 5 specific components of P.S.O. 1107 as a conceptual framework (efficiency, quality, equity, responsiveness, availability); (2) to initiate an innovative privatized public hospital standard management system. The research is conducted as an qualitative study, using (1) documentary researches which include the principle of P.S.O. 1107, work of literatures regarding the concept of privatization and public health service, to explain how adoption of privatization in public health sector can generate social values and social impacts (2) interview approaches; in-depth and semi-structured interviews, to engage people with the right form of information and knowledge needed to address the theme emerging from the study. The findings were that the application of privatization in SiPH led to certain degree of improvements, especially on the level of (1) efficiency which can be referred to as the maximization of human resources, financial development, and faster-timing in service provision; (2) quality in term of health services which showed that privatized medical scheme accredited by JCI Standards, enabled SiPH to provide better health services than Siriraj Hospital where HA Standard is held, however, both hospitals adhered to the same quality standard of medical treatments. Although privatized medical scheme is responsive to the needs of medical personnel and affordable patients, what emerged as potential drawback from the establishment of SiPH is an issue of inequity which can be referred to as (1) financial barrier that health service provision is dramatically depended on affordability than desirability (2) geographical barrier that hospital facilities in privatized scheme prevent accessibility from least affordable patients (3) cultural barrier that privatization brought medical personnel to conduct unfair practices.Downloads
Issue
Section
Articles