การวิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานกฎหมายการรับขนของทางทะเลและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
Keywords:
โครงสร้างพื้นฐาน, กฎหมาย, ทางทะเลAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ร่วมกันของกฎหมายการรับขนของทางทะเลและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ความตกลงระหว่าง ประเทศและกฎหมายไทยรวม 8 ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญา Hague Rules, Hague-Visby Rules, Hamburg Rules, Rotterdam Rules, MT Convention 1980 และ ASEAN Framework Agreementพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติ การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 โดยใช้ตารางการเปรียบเทียบข้อมูล (Comparison matrix) เป็นเครื่องมือเพื่อให้เห็นภาพรวมของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ร่วมกันของกฎหมายทั้ง 8 ฉบับ รวมทั้งความสำคัญ หลักเกณฑ์ที่สำคัญของโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว ผลการวิจัยปรากฏว่า กฎหมายเกี่ยวกับการรับขนของทั้ง 8 ฉบับข้างต้น มีโครงสร้างสำคัญร่วมกัน 14 ประการ คือ คำนิยาม (Definitions) ขอบเขตการใช้บังคับ (Scope of application) เอกสารการขนส่ง (Transport document) หน้าที่และสิทธิของผู้ส่ง (Shipper’s obligations and rights) ความรับผิดของผู้ส่ง (Shipper’s liability) ทรัพย์อันตราย (Dangerous goods) หน้าที่และสิทธิของผู้ขนส่ง (Carrier’s obligations and rights) ความรับผิดของผู้ขนส่ง (Carrier’s liability) ช่วงเวลาที่ผู้ขนส่งรับผิดชอบ (Period of responsibility) การจำกัดความรับผิด (Limitation of liability) การยกเว้นความรับผิด (Exclusion of liability) ความรับผิดร่วม (Vicarious liability) ข้อกำหนดหิมาลายา (Himalaya clause) อายุความ (Prescription) การศึกษาโครงสร้างเหล่านั้นโดยนำหลักการเรื่องผังมโนทัศน์และแผนงาน (Flowchart) มาใช้เป็นเครื่องมือประกอบการวิจัยด้วย จะทำให้เกิดประโยชน์ในการช่วยให้เข้าใจกฎหมายเหล่านั้นได้ง่ายขึ้นและยังช่วยลดเวลาในการพิจารณากฎหมายเมื่อมีประเด็นปัญหา The main purpose of this research was to analyze the significant fundamental structures shared by the laws on carriage of goods by sea and multimodal transport under 8 international conventions, international agreement and Thai laws, namely The Hague Rules, Hague-Visby Rules, Hamburg Rules, Rotterdam Rules, MT Convention 1980, ASEAN Framework Agreement, Carriage of Goods by Sea Act B.E. 2534, and Multimodal Transport Act B.E. 2548. The analysis employs the comparison matrix method as a tool to present the overall picture of the significant fundamental structures shared by the 8 bodies of law, as well as the substance and the important principles of such fundamental structures. The results indicated that the 8 bodies of law above share 14 significant structures, i.e. definitions, scope of application, transport document, shippers’ obligations and rights, shippers’ liability, dangerous goods, carrier’s obligations and rights, carrier’s liability, period of responsibility, limitation of liability, exclusion of liability, vicarious liability, Himalaya clause, and prescription. The study of these structures, using the flowchart as a tool in the analysis will help ease the understanding of these laws and require lesser time considering the laws whenever there is an issue in question.Downloads
Issue
Section
Articles