ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการจัดการภาวะผู้สูงอายุในประเทศไทย : การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อความมั่นคงของผู้สูงอายุ
Abstract
การวิจัยเรื่อง “ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการจัดการภาวะผู้สูงอายุในประเทศไทย: การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อความมั่นคงของผู้สูงอายุ” ทำการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interviews) และสำรวจโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่เป็นผู้สูงอายุ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 ตุลาคม 2560 การวิจัยเชิงคุณภาพได้จากการ ศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์จากผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในประเด็นผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 คาดว่าจะเป็น “สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์” ในปี พ.ศ. 2564 และเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ภายในปี พ.ศ. 2578 จากการสำรวจสภาวะของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีสุขภาพอนามัยดี มีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก ได้รับการศึกษาโดยใช้คอมพิวเตอร์ ได้รับข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์ พักอาศัยอยู่กับบุตร/หลาน มีสัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับดีมาก มีเงินได้จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ไม่มีเงินออม กิจกรรมที่ผู้สูงอายุเข้าร่วมมากที่สุด คือ ทำบุญ ส่วนใหญ่ได้รับบริการทางสังคมจากการช่วยเหลือเงินเบี้ยยังชีพ ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านอำนวยความยุติธรรม ผลกระทบของผู้สูงอายุ แบ่งเป็นผลกระทบระดับประเทศ ได้แก่ ผลกระทบต่อ GDP ผลกระทบต่อศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจ ภางบประมาณของประเทศ การออม ด้านแรงงาน และการปรับตัวในภาคธุรกิจ ผลกระทบระดับบุคคล ได้แก่ รายได้ของผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพทางกาย ปัญหาด้านความรู้ ปัญหาด้านสังคม ปัญหาด้านจิตใจ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ที่พักอาศัย และผู้ดูแลผู้สูงอายุ Research on the “National strategic for aging condition management in Thailand: Social welfare arrangement for the security of the elderly” adopted the Mixed Methods Research using the In - depth interviews and questionnaire survey developed by the researcher to collect data from the elderly populations during April 1 – October 31 2017.This qualitative study had researched on documents and interviews from those with knowledge and understanding on the elderly issues. It was found from the results that Thailand had entered into aging society since B.E. 2548. It was expected to become the “completely aging society” in B.E.2564 and the “top aging society” within 2578. According to the survey on the elderly aging condition, most of them had good health with the excellence level of healthy behavior. They were educated to use computer and received the information from television. They lived with their children and grand children with the excellence level of family relationship. They had income from elderly allowance, most of them had no saving amount and the activity that most of the elderly attended was making merit. Most of them received social service from the elderly allowance as well as the support on justice facilitation. Elderly impacts can be divided into the national impacts such as the impact toward GDP, the potential of business growth, national load budget, saving, workforce and adaptation in the business sector. Individual impacts were for instance, elderly income, health problems, problem of knowledge, social problem, mental problem, physical environment, accommodation and elderly caregiver.Downloads
Published
2022-12-23
Issue
Section
Articles