ลาวไร้สัญชาติกับปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย กรณีศึกษา บ้านบะไห่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

Authors

  • จินตนา เมืองแมน

Abstract

           สัญชาติ นับเป็นหลักพื้นฐานในการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ในรัฐ และเป็นหลักการที่ได้ถูกยอมรับไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (the Universal Declaration of Human Right) ว่ามนุษย์แต่ละคนควรมีหนึ่งสัญชาติ อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาจากบริบทของสังคมไทย พบว่ามีจำนวนคนไร้สัญชาติในประเทศไทยอยู่จำนวนมาก ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นคือกลุ่มคนลาวไร้สัญชาติตามแนวชายแดนไทย - ลาว วัตถุประสงค์ของบทความนี้คือ (1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกลุ่มคนลาวไร้สัญชาติตามแนวชายแดนไทย - ลาว โดยใช้กรณีศึกษาบ้านบะไห่ อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี (2) เพื่อศึกษาปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่กลุ่มคนลาวไร้สัญชาติได้รับผลกระทบเนื่องจากไร้สัญชาติ ศึกษาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติสัญชาติของไทย และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รวมถึงการการลงพื้นที่สัมภาษณ์กลุ่มคนลาวไร้สัญชาติ บ้านบะไห่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี          ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของสถานะลาวไร้สัญชาติในรัฐไทย เกิดขึ้นจากสองเงื่อนไข ได้แก่ (1) เงื่อนไขทางประวัติศาสตร์การเมืองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในของประเทศลาวในช่วงปี 2517 ส่งผลให้มีผู้อพยพชาวลาวเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมาก และบางส่วนไม่ได้กลับประเทศต้นทางหรือไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่ 3 และยังคงมีสถานะไร้สัญชาติในประเทศไทย (2) จากเงื่อนไขจากการกำหนดพระราชบัญญัติสัญชาติของไทย เรื่องการกำหนดเงื่อนไข/ และข้อยกเว้นการได้สัญชาติไทย ส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนลาวไร้สัญชาติในประเทศไทย มีสิทธิในการขอสัญชาติไทยต่างกันออกไป บางกลุ่มมีสิทธิในการขอสัญชาติไทย ตามมาตรา 23 ของพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 บางกลุ่มยังคงไม่มีแนวทางจากรัฐในการแก้ปัญหาเรื่องสัญชาติ ทำให้ยังคงสถานะคนไร้สัญชาติในประเทศไทย และผลจากการภาวะไร้สัญชาตินำไปสู่การถูกปฏิเสธสิทธิต่าง ๆ จากรัฐ และในบางกรณีส่งผลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น สิทธิในการเดินทาง สิทธิในการก่อตั้งครอบครัว เป็นต้น            Nationality is a fundamental principle for accessing to other rights in the state. It is accepted under the Universal Declaration of Human Rights that each person shall haveอa nationality. However, considering from a context of Thailand, a number of people in the country are still stateless including the stateless persons from Lao PDR living along Thai-Lao border. Objectives of this article are (1) to study the background of the stateless persons from Lao PDR living along Thai-Lao border and (2) to study their problems in human rights due to the statelessness by using a qualitative research. This research has been conducted by the documentary review which includes Nationality Act of Thailand and the Universal Declaration of Human Rights and the interview with the stateless persons from Lao PDR at Baan Ba Hai, Khong Khiam District, Ubon Ratchathani Province, Thailand.            The research reveals that causes of statelessness of the persons from Lao PDR living in Thailand come from two factors. Firstly, as a political context in Lao PDR in B.E.2517, the political situation of Lao PDR results in a number of Lao immigrants leaving the country to Thailand. Some of them have not since then returned to the country of origin nor resettled in a third country. They are consequently being in stateless status in Thailand. Secondly, the conditions set by the Nationality Act of Thailand under the subject of Conditions/and Exceptions eligible for having a Thai nationality have an effect on the stateless persons from Lao PDR to have a right to apply for a Thai nationality differently. Some of them fall under the conditions set by Article 23 of Nationality Act B.E.2508 (No.4), B.E.2551 to apply for a Thai nationality, while for others the state policy of Thailand has not yet provided the solutions to the problem. This situation has left these people being stateless in Thailand and therefore being refused the access to other rights. Thus, human rights of this group of people in some cases are violated such as their freedom of movement and the right to found the family.

Downloads

Published

2022-12-23