การศึกษารูปแบบวิธีการและผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว

Patterns, Methods, and Impacts of Thai’s Election Based on the New Constitution: A Case Study of SaKaeo Province

Authors

  • เสริมสิทธิ์ สร้อยสอดศรี
  • พิสิษฐ์ บึงบัว

Keywords:

การเลือกตั้ง, รัฐธรรมนูญใหม่, จังหวัดสระแก้ว, Election, New constitution, Sa Kaeo province

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง และการตัดสินใจทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้เงินในการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง 3) ศึกษาความสัมพันธ์ บทบาทของกลุ่มองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการเลือกตั้ง และ 4) ศึกษาปัจจัยแวดล้อมที่มีต่อพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง กลุ่มองค์กรภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการเลือกตั้ง และประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) จังหวัดสระแก้วซึ่งแบ่งเขตการเลือกตั้ง 3 เขต ผู้ชนะการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ครั้งก่อน เป็น ส.ส. นามสกุลเดียวกันสังกัดพรรคเพื่อไทยทั้ง 3 เขต แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ มีอดีต ส.ส. พรรคเพื่อไทย ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ 2 ราย และยังคงสังกัดพรรคเพื่อไทย 1 ราย ปัจจัยของการย้ายพรรควิเคราะห์ได้ 2 แนวทาง คือ มีความขัดแย้งเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองจึงแยกตัวออกมาจากพรรคเดิม หรือเป็นเกมการเมืองเนื่องจากไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้งและได้เข้าร่วมรัฐบาลก็จะสามารถรักษาผลประโยชน์ทางธุรกิจ สามารถผลักดันงบประมาณลงมาพัฒนาจังหวัดสระแก้วได้ สำหรับผู้สมัครหน้าใหม่ที่ตัดสินใจลงสมัคร ส.ส. ในครั้งนี้ เนื่องจากเชื่อมั่นในหัวหน้าพรรคและรวมถึงอุดมการณ์ของพรรค ซึ่งหากไม่ชนะการเลือกตั้งก็มีเป้าหมายต่อเนื่องคือการลงสมัครการเมืองระดับท้องถิ่นต่อไป 2) พฤติกรรมการใช้เงินของผู้สมัครรับเลือกตั้งในการทำกิจกรรมหาเสียงจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากพรรคส่วนหนึ่งและใช้งบประมาณส่วนตัวอีกส่วนหนึ่ง แต่อยู่ในกรอบวงเงินที่กฎหมายกำหนด นอกจากการสนับสนุนงบประมาณที่เป็นตัวเงินมาจากพรรคแล้ว บางพรรคได้มีการจัดวัสดุ อุปกรณ์ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ มาจากส่วนกลางเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการหาเสียงในพื้นที่ 3) ความสัมพันธ์ บทบาทของกลุ่มองค์กรที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการเลือกตั้ง ได้วางตัวเป็นกลางโดยให้อิสระกับสมาชิกในกลุ่มได้พิจารณาตัดสินใจเลือก ส.ส. อย่างอิสระ เนื่องจากไม่ว่าใครจะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งก็ต้องทำงานประสานความร่วมมือกับ ส.ส. ในพื้นที่ที่ชนะการเลือกตั้งอยู่แล้ว และ 4) ปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเมืองประชาชนส่วนใหญ่จะเลือกผู้แทนที่ตัวบุคคล สามารถเข้าถึงง่าย ไม่ทิ้งพื้นที่ เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ และมองถึงโอกาสของผู้แทนที่จะเลือกเข้าไปมีส่วนร่วมเป็นฝ่ายรัฐบาล ทั้งนี้เนื่องจากจะสามารถผลักดันงบประมาณลงมาพัฒนาจังหวัดสระแก้วให้มีความเจริญทัดเทียมกับจังหวัดใกล้เคียง  The purposes of this study were: 1) to investigate the changes in political poles including movement in political parties and decisions of political candidates in election process; 2) to study candidates’ behaviors regarding finance raised in election campaigns; 3) to explore relationships of other related organizations and stakeholders in election process; and 4) to examine environmental factors affecting the political behavior of the citizens. The research populations were political candidates, public and private organizations as stakeholders in the election process, and the citizen with rights to vote. Purposive and accidental samplings were employed as selection methods for the data collection. An interview and a set of questionnaire were used as research instruments of this study. The results revealed as follows. First of all, the election in Sa Kaeo province was divided into 3 electoral districts. From the previous election, the winner was a member of the House of Representatives (MP) with the same family under the Phuea Thai Party in all 3 districts. With the election under the new constitution, two former MPs for Phuea Thai Party has moved to the Palang Pracharat Party and there has been another MP still belonging to the Phuea Thai Party. Plausible factors of the political movement could be analyzed on the basis of two variables: conflicts in political ideology and political games with reciprocal benefits in the election and the government joining. For newcomer candidates, they decided to apply for the MP because of their mutual belief of the party leader and the ideology of the party. In case of losing the election, the candidates were able to attend local politics. Secondly, the behavior of fundraising used by the candidates in the campaigns was supported by a budget from a partisan party and a personal budget. However, it must be proceed on laws and regulations. In addition to the monetary support from the party, some parties have provided materials such as brochures, posters, caps derived from the center to support political campaigns and activities in the areas. Thirdly, the relationships between organizations and affiliated stakeholders were perceived to be neutral by allowing the members of the group to independently decide for the MPs’ election. This is because no matter who wins the election, they must work together with the MPs in the local areas. Lastly, environmental factors influenced political behavior in the sense that most people would choose candidates, who were easily accessible to the people, high responsible and more reliable. They also expected for the candidates who would be eligible for participating in the government. With this regard, the selected candidates could foster the budget down to develop Sa Kaeo province in comparable to other neighboring provinces.

References

เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง.(2562). พรรคการเมือง. วันที่ค้นข้อมูล 14 มกราคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=พรรคการเมือง

นพรัตน์ วงศ์วิทยาพาณิชย์. (2555). นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดสระแก้ว. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

สมเกียรติ วันทะนะ. (2558). ระบอบประชาธิปไตยเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Almond, G. A., & Powell, G. B. (1966). Comparative Politics: A Development Approach. Boston: Little Brown and Company.

Downloads

Published

2023-01-05