การพัฒนาบทบาททางการเมืองในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีระดับท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย

The Development of the Political Role of Women in Local Political Participation Case Study: Muang District, Nong Khai Province

Authors

  • ศิกัญญา อยู่เมือง
  • ณฐภัทร อยู่เมือง

Keywords:

บทบาททางการเมือง, บทบาทของสตรี, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น, Political role, Women role, Political participation, Local political participation

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย, เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรีในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่น และเป็นแนวทางการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรเพศหญิงที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จำนวน 75,673 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ จำนวน 385 กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยทำการศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในระดับท้องถิ่น ทั้งหมด 5 ด้าน คือ ด้านการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง, ด้านการ เข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของพรรคการเมือง, ด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชนท้องถิ่น, ด้านการติดต่อกับทางราชการ และด้านการเป็นผู้สื่อสารทางการเมือง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (average), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), ค่าt-test และค่า F-test เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.23 ส่วนค่าเบี่ยงเลนมาตรฐาน 0.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด มี 1 ด้าน คือ ด้านการไปลงคะแนนเลือกตั้ง ส่วนที่เหลือระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของสตรีอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยส่วนบุคคลของสตรีในอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น โดยภาพรวม พบว่า อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกันมีส่วนร่วมทาง การเมืองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนรายได้ที่ต่างกันมีส่วนร่วมทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย คือการพัฒนาด้านความรู้ทั่วไป เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบทบาททางการเมืองของสตรีในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น ด้านประชาธิปไตย ด้านเจตคติ และด้านพฤติกรรม ให้กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีความรู้แบบประชาธิปไตย เจตคติและพฤติกรรมทางการเมือง แต่เนื่องจากสตรียังไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควรจึงไม่กล้าแสดงบทบาทที่ตัวเองมีอยู่ ผู้วิจัยเห็นว่าเมื่อพัฒนาบทบาททั้งสามด้านอย่างสม่ำเสมอแล้ว จะทำให้สตรีมีบทบาททางการเมือง และมีส่วนร่วมทางการเมืองมากยิ่งขึ้นไป  The purpose of this research paper are to study the local political participation of women in Muang District, Nong Khai Province and compare the local political participation of women in Muang District, Nong Khai Province with distributed by personal factors. Sampling groups in this research are the women population aged 18 years old and over who live in Muang Nong Khai District all total 75,673 people. Determine sampling size with calculation to find sampling group by using Yamane’s formula, 385 sampling groups. The tools that used for collect the information is questionnaire, that studied the local political participation level in 5 areas; voting in election, participation in the party’s activity, a role in the local community, communication with the government service and the political communication. This research used percentage, average, S.D., t-test and F-test. The results of this research showed that; 1. The overall in 5 areas of the local political participation level of women in Muang District, Nong Khai Province are moderate with an average of 3.23 and S.D. pf 0.61. When considered in each area it was found that only the highest area in voting in election. And the other areas are in moderate level. 2. Personal factors of women in Muang District, Nong Khai Province are moderate with the political overall found that the difference age, status, education level and occupation, there are political participation were significantly different. Difference income in political participation was not significantly different. 3. The factors that affecting the development of the political role of women in local political participation of women in Nong Khai Province are the development of common knowledge. To be used in the development of the political role of women in local political participation, democracy and the activity behaviors to target the most knowledgeable democracy. Activity and political behavior. But women do not develop as they should, therefore, not the role itself is. The research suggests that the development of the three sides, it is consistently the political equality with men.

References

จันทนา สุทธิจารี. (2544). “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ในการเมืองการปกครองไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: วี. เจ. พริ้นติ้ง.

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2546). รายงานการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนและความคิดเห็นต่อการทำงานของรัฐบาลและองค์การอิสระ. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ถวิลวดี บุรีกุล และรัชวดี แสงหะหมัด. (2559). การเสริมพลังของผู้หญิงในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

ทิชา ณ นคร และคณะ. (2545). ผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ : บันทึกการเดินทางสู่ความเสมอภาค. กรุงเทพฯ: เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2552). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ปิยะฉัตร พึ่งเกียรติรัสมี. (2547). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของคณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) ในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. (2551). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีในระดับการปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 15(1),165-199.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2556). สังคมวิทยา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พัชนี วรกวิน. (2522). จิตวิทยาสังคม. นนทบุรี: สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด.

วัชรา ไชยสาร. (2545). การมีส่วนร่วมในทางการเมืองกับการเมืองภาคประชาชน. รัฐสภาสาร, ฉบับเดือนพฤษภาคม, 48.

สนิท เย็นฉ่ำ. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ศึกษาเฉพาะกรณีประชาชนตำบลศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

สมสุดา ผู้พัฒน์ และจุฬารัตน์ วัฒนะ. (2556). การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ สท. ตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ในระดับผลลัพธ์. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุกฤตา จินดาพรม. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรีไทยในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของภูมิภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อักษร ทองพลอย. (2554). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กรณีเลือกตั้งซ่อม พ.ศ. 2554. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Rosenstone J. S., & Hansen, J. M. (1993). Mobilization, participation and democratization in America. Washington: Macmillan.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (Third edition). New York: Harper and Row Publication.

Downloads

Published

2023-01-05