การสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

The Creation of the Public Service Innovation of Municipalities in Mueang District, Chonburi Province

Authors

  • สุพจน์ บุญวิเศษ

Keywords:

การสร้างสรรค์, นวัตกรรม, บริการสาธารณะ, เทศบาลเมือง, จังหวัดชลบุรี, Creation, Innovation, Public service, Municipality, Chonburi Province

Abstract

การวิจัยนี้เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นและเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลเมืองในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1) เทศบาลเมืองชลบุรี 2) เทศบาลเมืองบ้านสวน 3) เทศบาลเมืองแสนสุข และ 4) เทศบาลเมืองอ่างศิลา รวมทั้งสิ้น 400 คน และสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test และ One-way ANOVA กรณีพบความแตกต่างจะวิเคราะห์คู่ที่แตกต่างโดยใช้สถิติ Scheffe’ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในพื้นที่อำเภอเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค และด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคู่เศรษฐกิจพอเพียง และด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ตามลำดับ 2) ประชาชนที่มีเพศแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมืองในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05   This research was to study the level of public opinion and compare the public opinion on the creation of the public service innovation of municipalities in Mueang district, Chonburi Province, classified by gender, age, education and occupation. The sample group used in the research was the people who lived in the area of 4 municipalities in Mueang district, Chonburi Province, such as: 1) Mueang Chonburi Municipality; 2) Ban Suan Municipality; 3) Saen Suk Municipality; and 4) Ang Sila Municipality, a total of 400 people and using accidental sampling method. The research instruments were questionnaires. Statistics which used in research, such as: frequency, percentage, mean and standard deviation and hypothesis testing used t-test and One-way ANOVA, if differences found and different pairs analyzed by Scheffe¢. The research found that: 1) Public opinion on the creation of the public service innovation of municipalities in Mueang district, Chonburi Province in overall was at a high level, especially in the development of infrastructure and utilities aspect, the development of quality of life along with the sufficiency economy aspect, the management according to the principles of good governance aspect, respectively. 2) People who had different gender, there was no different opinion on the creation of the public service innovation of municipalities, but people who had different age, education and occupation, there was different significantly opinion on creation of the public service innovation of municipalities in Mueang district, Chonburi Province, at the level of .05.

References

จรัส สุวรรณมาลา และคณะ. (2549). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2552). แนวทางการวิจัยนวัตกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : มุมมองเชิงเศรษฐศาสตร์สถาบัน. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊คส์.

นรา ณ ร้อยเอ็ด. (2551). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลดงลาน อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ไพวรรณ อุปลี. (2552). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ยิ่งลักษณ์ ทิพย์สิงห์. (2555). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการจัดบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลมาย อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ยุวนัส จำปามูล. (2553). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วรวรรณ กีรติสุวคนธ์. (2553). ความคาดหวังของประชาชนต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานโยบายสาธารณะ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

วุฒิพงษ์ ภักดีเหลา. (2554). การศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม : กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบราชการไทย. (2556). นวัตกรรมการบริหารจัดการภาครัฐ. วันที่ค้นข้อมูล 5 พฤษภาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.opdc.go.th

สันติ์ ศรียา. (2559). ประสิทธิภาพในการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุพจน์ บุญวิเศษ. (2561). สภาพนวัตกรรมการบริการสาธารณะและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อนวัตกรรมการบริการสาธารณะในเทศบาลเมืองในพื้นที่จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2560-2564). ชลบุรี: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี.

อรทัย ก๊กผล และฉัตรระวี ปริสุทธิญาณ. (2552). เคล็ดลับการจัดบริการสาธารณะท้องถิ่นบทเรียนจากรางวัลพระปกเกล้า. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Downloads

Published

2023-01-05