ปัญหา ข้อจำกัด และแนวทางในการสร้างความเข้มแข็ง ให้กับวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย

A Problem, Limitations and Approaches for Strengthening of Community- Based Enterprises in Thailand

Authors

  • สนิทเดช จินตนา
  • ธีระพงษ์ ภูริปาณิก

Keywords:

ปัญหาและข้อจำกัดของวิสาหกิจชุมชน, แนวทางในการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจชุมชน, วิสาหกิจชุมชน, problem and limitations of community - based Enterprises, Approaches for Strengthening of community-based Enterprises, community-based Enterprises

Abstract

บทความวิจัยเรื่องปัญหา ข้อจำกัด และแนวทางในการสร้างความเข้มแข็ง ให้กับวิสาหกิจชุมชน ในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดทางด้านปัจจัยภายในที่มีผลต่อการทำงาน กระบวนการทำงาน และความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย และเพื่อเสนอรูปแบบในการพัฒนาปัจจัยภายในที่มีผลต่อการทำงาน กระบวนการทำงาน และความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีศึกษาด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 20 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบกึ่งโครงสร้าง(Semi-Structure Interviews) ผลการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1. ปัญหาและข้อจำกัดของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย นั้นแบ่งออกได้เป็น 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก (Context) คือ นโยบายการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนนั้นขาดความต่อเนื่อง การนำนโยบายมาสู่การปฏิบัติยังคงมีปัญหา รวมถึงค่าครองชีพและหนี้สินภาคครัวเรือนนั้นสูงขึ้น 2) ปัจจัยภายใน (Input) พบว่า ผู้บริหารยังขาดความเป็นผู้ประกอบ ไม่มีความรู้ทางด้านการบริหารจัดการธุรกิจ บุคลากรไม่เพียงพอ ขาดความรู้ทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่มีความสามารถในการเขียนโครงการ และแผนธุรกิจ 3) กระบวนการทำงานของวิสาหกิจชุมชน พบว่า กลุ่มวิสาหกิจส่วนใหญ่ไม่มีความสามารถในการหาตลาด ไม่รู้วิธีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด ไม่มีการวางแผนในการทำงาน ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้แก่สินค้าได้ ไม่รู้จักการนำเอาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเข้ามาใช้กับสินค้า และไม่มีการทำบัญชี และ4) ศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชน พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่มีรายได้จากการดำเนินการไม่เพียงพอ หลาย ๆ แห่งไม่มีกำไร การผลิตสินค้ายังไม่มีมาตรฐานในระดับสากล และการการบริหารจัดการวัตถุดิบยังไม่มีประสิทธิภาพ และ 2. แนวทางในการสร้าง ความเข้มแข็งในการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนนั้นหน่วยงานภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการควรมีการสร้างแผนยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนในระยะยาว 10 – 20 ปี มีการให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้นำของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และมีนโยบายในการส่งเสริมการหาตลาดเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าโดยเฉพาะตลาดระดับประเทศ และการส่งออกไปขายยังต่างประเทศ  This research has the objectives to study A problem and limitations of community - based Enterprises in Thailand. and To study to study A Approaches for Strengthening of community - based Enterprises in Thailand. Qualitative research was conducted and data were collected from 12 key informants. The research instruments were an interview and recording of data; analysis was by content analysis. The result showed that: 1. Problems and limitations of community enterprises in Thailand That can be divided into 4 issues : 1) the external environment was a policy of community enterprise development that lacks continuity, Implementing policies into practice still has problems, and the cost of living and household debt that was high. 2) Internal factors found that Management still lacks entrepreneurship, Not enough personnel, Lack of knowledge, and No ability to make a business plan. 3) Process factors found that a community enterprises in Thailand do not have marketing knowledge and 4) Self-reliance potential of community enterprises found that a community enterprises in Thailand Not have a profit from operation and 2. Guidelines for building capacity for self-reliance of community enterprises That the government sector must focus on creating a strategic plan for the development of community enterprise in the long term, Focus on leadership development and create a policy to promote the market to distribute products, especially the national market And export to overseas.

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). รายงานสรุปประเภทกิจการวิสาหกิจชุมชน/ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จำแนกตามพื้นที่. วันที่ค้นข้อมูล 27 ธันวาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://smce.doae.go.th/smce1/report/select_report_smce.php?report_id=17

จินตนา กาญจนวิสุทธ์. (2558). เส้นทางวิสาหกิจชุมชน เพื่อการพัฒนาอาชีพและการพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2556). การจัดการและการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. สงขลา: สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2561). ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนพื้นที่จังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ในบริบท ประชาคมอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(4), 78–87.

สุนิสา ละวรรณวงษ์ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจชุมชนอัญมณีและเครื่องประดับ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1), 1192-1211.

สมพิศ สุขแสน. (2547). การประเมินผลโครงการ. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2559). คู่มือการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานราก. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.).

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2555). คู่มือ : การประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.

Certo, S. C., & Certo, S. T. (2006). Modern management (10th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Downloads

Published

2023-01-05