รูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

Corporate Social Responsibility Model for Real Estate Business

Authors

  • สุธิดา สัจจะหฤทัย
  • สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

Keywords:

ความรับผิดชอบต่อสังคม, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, Social responsibility, Real estate business

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอถึงองค์กรภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นี้มีบทบาทอย่างมากต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศในสังคมโลก ที่นับวันจะมีปัญหาสะสมจากการบริโภคและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลื้อง นำมาซึ่งความยากจนและช่องว่างที่ห่างกันมากขึ้นระหว่างคนรวยกับคนจนหรือประเทศร่ำรวยที่พัฒนาแล้วกับประเทศยากจนที่กำลังพัฒนา องค์กรภาคธุรกิจทุกขนาดล้วนแต่อยู่เบื้องหลังความเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมาอันเป็นรูปแบบของการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน การจัดการที่อยู่อาศัยจึงจำเป็นต้องใช้ทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะเพื่อที่จะให้ที่อยู่อาศัยอยู่ภายใต้กรอบพื้นที่ที่กำหนดไว้แต่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาจากการสร้างที่อยู่อาศัย ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพียงมุ่งแต่แสวงหาผลกำไร เพราะฉะนั้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และ ชุมชนรอบข้างที่เกิดขึ้นของโครงการ และแม้ว่าจะมีกฎหมายควบคุมก็ตามแต่ก็ยังมีช่องทางที่หลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งคัดวิธีวิทยาการวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ เชิงลึก การระดมความคิดเห็นกลุ่มเจาะจง และการมส่วนร่วมออกแบบ, ร่วมออกแบบ ผลการวิจัยพบว่า การจัดการที่อยู่อาศัยจึงจำเป็นต้องใช้หลักความรับผิดชอบต่อสังคมโดยเฉพาะเพื่อที่จะให้ที่อยู่อาศัยอยู่ภายใต้กรอบพื้นที่ที่กำหนดไว้แต่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปัจจุบันมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาจากการสร้างที่อยู่อาศัย ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เพียงมุ่งแต่แสวงหาผลกำไร เพราะฉะนั้นจึงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และ ชุมชนรอบข้างที่เกิดขึ้นของโครงการ และแม้ว่าจะมีกฎหมายควบคุมก็ตามแต่ก็ยังมีช่องทางที่หลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งคัดได้ การวิจัยนี้จึงเห็นว่าหากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมปัญหาจะลดน้อยลงหากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ดำเนินการให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งการดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดีโดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" โดยจัดทำเป็นรูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การวิจัยมีข้อเสนอแนะ ในการจัดทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ควรปฏิบัติตามแนวทาง 9 ข้อ คือ 1. การเปิดเผยข้อมูล 2. การใช้วัสดุคุณภาพ 3. การดูแลสิ่งแวดล้อม 4. การคุ้มครองแรงงาน 5. การเฝ้าระวังและตรวจสอบ 6. การต่อต้านการทุจริต 7. การไม่หลีกเลี่ยงเสียภาษี 8. การเยียวยาผู้บริโภคกับชุมชนรอบข้าง และ 9. การปฏิบัติกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อชุมชนรอบข้าง  The objective of this research is to establish a model of social responsibility in real estate business. The research methodology used as a qualitative research consists of document research. In-depth interviews Participation in Design - Joint Design and listening to opinions The result of the research shows that real estate business problems, if undertaken without social responsibility, will have a big impact, whether small, medium, large, and all construction businesses have the same impact on the size of the business. There is a clear expression of social responsibility. The solution is incorrect. Causing a lot of lawsuits from consumers and the surrounding community and affect the environment The research therefore proposed a model of social responsibility in real estate business with 9 criteria which are 1. Disclosure of information 2. Use of quality materials 3. Environmental stewardship 4. Labor protection 5. Surveillance and inspection 6. Anti-corruption 7. Non-avoidance of paying taxes 8. Consumer remedy for surrounding communities 9. Strict compliance with laws The suggestion of the research is to establish a profession in the real estate business to be enforced. Same standard rules. There is an explanation of social responsibility in real estate. The suggestion for further research is to create a profession for real estate entrepreneurs.

References

พิภพ สุนทรสมัย. (2529). การซ่อมและตบแต่งอาคาร. กรุงเทพฯ: โครงการสนับสนุนเทคนิคอุตสาหกรรมสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

สนธยา วนิชวัฒนะ. (2549). วัฏจักรธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย. วารสารธนาคารอาคารสงเคราะห์, 12(47), 44-50.

Arthur D. Little GmbH. (2002). Economic Effects of the EU Substances Policy. Wiesbaden, Germany: n.p.

Pyhrr, S A., Roulac, S., & Born, W. L. (1994). Real Estate Cycles and Their Strategic Implications for Investors and Portfolio Managers in the Global Economy. Journal of Real Estate Research, 18(1), 7-68.

United Nation. (1981). Popular of international economic and social affairs. United Nation, New York: United Nation Publication.

United Nations. (2012). The Sustainable Future We Want. Annual Report 2011/2012. United Nation, New York: United Nation Publication.

Downloads

Published

2023-01-05