ปัจจัยที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศไทย

Factors Affecting Thailand’s Sustainable Competitiveness

Authors

  • โกสิทธิ์ เฟื่องสวัสดิ์

Keywords:

ปัจจัย, ขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน, Factors, Sustainable Competitiveness

Abstract

วัตถุประสงค์ 3 ประการของงานวิจัยนี้คือ 1) เพื่อศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศไทย 2) เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศไทย และ 3) เพื่อค้นหาแนวทางเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศไทย งานวิจัยนี้อาศัยการวิจัยแบบผสม ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ในเชิงคุณภาพประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญรวม 17 ท่านในช่วงแรก และการนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญอีก 22 ท่านในการสนทนากลุ่มเพื่อแสดงความเห็นก่อนสรุปผลการวิจัยในช่วงท้ายของการวิจัย ในเชิงปริมาณ มีการเก็บตัวอย่างการสำรวจจากผู้ให้ความคิดเห็นรวม 390 ท่าน ข้อมูลที่ได้ทั้งหมดได้ถูกนำมาประมวลและทำการวิเคราะห์ แบบอุปนัยสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม และแบบสถิติศาสตร์สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ทั้งสถิติเชิงบรรยายและสถิติอนุมานอันประกอบไปด้วยการหาความสัมพันธ์ทางสถิติแบบสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณโดยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอนเพื่อระบุตัวแปร ซึ่งก็คือปัจจัยที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศไทย รวมทั้งลำดับความสำคัญของตัวแปร ผลการวิจัยในทุกรูปแบบล้วนสอดคล้องและยืนยันว่า 1) ขีดความ สามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำอันเนื่องมาจากการขาดการมุ่งเน้นและการประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจ ทางสิ่งแวดล้อมและทางสังคมโดยตรง 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อต่อขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศไทยประกอบไปด้วย (ก) การดำเนินนโยบายของประเทศ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและการปกครองภายใต้หลักธรรมาภิบาล (ข) การบริหารประชาชน โดยมุ่งเน้นความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบ ความยืดหยุ่นและความว่องไว การกระตุ้นและการสร้างแรงบันดาลใจ และการสื่อสาร และ (ค) อิทธิบาท 4 หลักพุทธธรรมอันประกอบไปด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา และ 3) แนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนของประเทศไทยคือการบูรณาการอย่างแท้จริงของ 3 ปัจจัยที่กล่าวมา ทั้งนี้ จากผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการถดถอยพหุคูณโดยวิธีเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน พบว่า การบริหารประชาชนเป็นหัวใจสำคัญที่สามารถนำพาให้ประชาชนที่มีคุณภาพอันมาจากการพัฒนาโดยอาศัยหลักอิทธิบาท 4 ให้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายของประเทศ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและการปกครองภายใต้หลักธรรมาภิบาล ประเทศไทยจึงจะสามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนได้สำเร็จ  This research was initiated with 3 objectives; 1) to study Thailand’s sustainable competitiveness, 2) to study factors affecting Thailand’s sustainable competitiveness, and 3) to find out the guideline for improvement of Thailand’s sustainable competitiveness. A mixed method of qualitative and quantitative approaches was designed for this research. In-depth interviews of 17 key informants were conducted for the qualitative research, in parallel to a survey research of 390 actual respondents. Another 22 experts participated the focus group discussion to sound their opinions on the research outcome and test the proposed policy models. Analytical induction was used as data analysis for data collected from the in-depth interviews and focus group discussion. For the survey research, descriptive statistics and inferential statistics including Pearson’s correlation and stepwise regression were used as data analyses. All these approaches coincide and confirm the following research results; 1) Thailand’s sustainable competitiveness is low due to lack of direct focus and measurement of economic values, environmental values and social values; 2) factors affecting Thailand’s sustainable competitiveness include (a) public policy implementation and its 3 subfactors including efficiency, effectiveness, and governance, (b) people management and its 4 subfactors including dedication and commitment, flexibility and agility, motivation, and communication, and (c) Iddhipādā 4 and its 4 subfactors including Chanda, Vīriya, Citta and Vīmaṁsā; and 3) the guideline for improvement of Thailand’s sustainable competitiveness is to fully integrate the 3 factors. With higher correlation coefficient and degrees of common effect from these 3 factors analyzed by the stepwise regression analysis, people management is the prime and integrative management tool to turn human quality developed by Iddhipādā 4 into productivity to drive for efficiency, effectiveness, and governance of the public policy implementation for the Thailand’s sustainable competitiveness.

References

Becker, G. (1964). Human Capital: A Theoretical and Empirical Analysis, with Special Reference to education. Journal of Political Economy, 360(1), 208-209.

Bris, A., & Cabolis, C. (2019). IMD World Competitiveness Ranking 2014-2019. Lausanne: IMD World Competitiveness Center.

Casidine, M. (1994). Public Policy: A Critical Approach. Sydney: Macmillan Education Australia.

Dye, T. R. (1972). Understanding Public Policy. New York: Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Lowi, T. J., Bauer, R. A., De Sola Pool, I., and Dexter, L. A. (1964). American Business, Public Policy, Case-Studies, and Political Theory. World Politics, 16(4), 687–713.

The World Bank. (2019). Doing Business 2019 – Thailand. New York: A World Bank Group Flagship Report, 16th Edition.

TMA. (2019). Thailand Competitiveness Enhancement Program 2014-2019. Bangkok: Thailand Management Association – Center for Competitiveness.

White, R. W. (1959). Motivation Reconsidered: The Concept of Competence. Psychological Review, 66(5), 297-333.

Downloads

Published

2023-01-05