แนวทางการส่งเสริมจากภาครัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการสนับสนุนนักธุรกิจจีนลงทุนค้าขายในประเทศไทย

A Model of Chinese Government Promotion towards Business Investment of Chinese Investors in Thailand

Authors

  • กาณติมา พงษ์นัยรัตน์
  • บรรพต วิรุณราช

Keywords:

การเมืองและนโยบายภาครัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีน, บริบทของสาธารณรัฐประชาชนจีน, การค้าการลงทุนระหว่างประเทศ, Government policy of The People’ Republic of China, Chinese context, Foreign trading and investment

Abstract

การวิจัยเรื่อง “แนวทางการส่งเสริมจากภาครัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการสนับสนุน นักธุรกิจจีนลงทุนค้าขายในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมจากภาครัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีนในแง่มุมต่าง ๆ ที่สนับสนุนนักธุรกิจจีนในการลงทุนค้าขายในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อนำรูปแบบหรือแนวทางการส่งเสริมนำเสนอแก่หน่วยงานภาครัฐของไทยโดยทำการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปริมาณ (Qualitative research and Quantitative research) ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคการวิจัยเชิงผสม (Mixed methods research) โดยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพก่อน ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) จำนวน 23 คน จากนั้นจึงทำการวิจัยเชิงปริมาณตามกรอบ PESTLE Model โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักธุรกิจจีนในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก จำนวน 400 ชุด หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม SPSS โดยเป็นการวิเคราะห์การใช้สถิติการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ซึ่งได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการยืนยันผลจากข้อมูลเชิงลึก ทำให้ทราบแนวทางในการส่งเสริมที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า 1) ประเด็นด้านนโยบาย มีความชัดเจน จากการที่มีการเมืองเข้มแข็งถือเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการดำเนินนโยบายได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายให้เห็นเป็นรูปธรรม นอกจากนี้รัฐบาลสนับสนุนให้มีโครงการ สำคัญ ๆ เพื่อรองรับนโยบาย เช่น โครงการ One Belt One Road ที่เน้นด้านโครงสร้างพื้นฐาน จากนั้นจึงใช้วิธีการจดสิทธิบัตรสินค้าเพื่อทำให้เกิดอำนาจในการต่อรอง 2) ประเด็นด้านแรงจูงใจและการอำนวย ความสะดวก รัฐบาลมีการสนับสนุนด้านเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงการอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดเสวนาเพื่อจับคู่ค้าทางธุรกิจ การจัดตั้งธนาคารรวมถึงจัดทำคู่มือข้อควรรู้ประเทศต่าง ๆ 3) ประเด็นด้านการลงทุนระหว่างประเทศ รัฐบาลจีนได้เข้าร่วมองค์กรสำคัญ ๆ ทั่วโลก เช่น WTO รวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน 4) ประเด็นด้านบริบทของประเทศ มีการปลูกฝังคุณลักษณะเด่นที่เป็นจุดแข็งของสังคมจีนนั่นคือ การสืบทอดแนวคิดและกลยุทธ์สำคัญด้านการค้าขาย นอกจากนี้ยังมีความพยายามสร้างเครือข่าย เพื่อเป็นการรวมตัวช่วยเหลือกันเมื่อยามเกิดปัญหา 5) ประเด็นอื่น ๆ เหตุผลที่นักธุรกิจจีนลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากมีความพร้อมหลายด้าน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความเหมาะสมในพื้นที่ลงทุน รวมถึงความสัมพันธ์อันดี แต่ปัญหาที่พบหลังจากเข้ามาลงทุนคือ ด้านแรงงานไทยที่ขาด ความรับผิดชอบ กฎหมายที่เอื้อประโยชน์กับแรงงาน รวมถึงความล่าช้าของหน่วยงานภาครัฐไทย สำหรับผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับความคิดเห็นของนักธุรกิจจีนหรือตัวแทน เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมนักธุรกิจจีนลงทุนค้าขายในประเทศไทย อยู่ในระดับสูงทั้งหมดทุกด้าน (ค่าเฉลี่ย = 3.64; SD = .629) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อสามารถเรียงลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดได้ดังนี้คือ ด้านการเมืองการปกครองและนโยบายภาครัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีนในการสนับสนุนนักธุรกิจจีนลงทุนค้าขายในประเทศไทย (ค่าเฉลี่ย = 3.74; SD = .683) รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อม (ด้านความปลอดภัย ความเหมาะสมในการลงทุนและความเป็นอยู่ในการดำรงชีพ) (ค่าเฉลี่ย = 3.70; SD = .788) ด้านเทคโนโลยี เทคนิคและนวัตกรรม (ค่าเฉลี่ย = 3.64; SD = .864) ด้านสังคมและวัฒนธรรม (ค่าเฉลี่ย = 3.63; SD = .699) ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน (ค่าเฉลี่ย = 3.60; SD = .728) และด้านกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ (ค่าเฉลี่ย = 3.55; SD = .785) ตามลำดับ โดยสรุปผลการวิจัยเชิงปริมาณมีความสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพคือ นักธุรกิจจีนมีความเชื่อมั่นด้านการเมืองการปกครองของรัฐบาลว่ามีความเข้มแข็ง สามารถขับเคลื่อนนโยบายที่กำหนดมาแล้วให้เกิดความต่อเนื่องได้ โดยรัฐบาลมีการวางมาตรการและจัดโครงการต่างๆ มารองรับ เพื่อให้นโยบายด้านเศรษฐกิจประสบความสำเร็จ  The research entitles "A model for promoting the government of the People's Republic of China in supporting Chinese businessmen to invest and trade in Thailand" aimed to study promotion methods of the government of the People's Republic of China in various aspects that supports Chinese businessmen in trading and investment in Thailand in order to present the appropriate guidelines for promotion from the People's Republic of China to present to various agencies that may concern to be applied to the Thailand context by conducting qualitative research and quantitative research. The researcher collected data with mixed methods research which combined the advantages of qualitative research and Quantitative research to answer research objectives. The researcher conducted the qualitative research first by in-depth interview in order to obtain reliable insights from a sample group for qualitative research. This in-depth interview consisted of 23 participants who were 1 Chinese scholar, 1 Thai-Chinese Executive of Association of Investor Promotion, 1 representative of Chinese industrial estate in Amata City Industrial Estate, and 20 Chinese business or agents who invested trading in Thailand in the Eastern industrial estate area based on the convenient time and location of the participants. Then, quantitative research was carried out in the PESTLE Model framework by collecting data from the sample of Chinese businessmen in the industrial estate area. After that, the data was analyzed by using the SPSS program, which was an analysis of research statistics using descriptive statistics, including frequency, percentage, mean and standard deviation in order to confirm the results from in-depth information of the obvious and meaningful methods to promote businessmen. The results from qualitative research showed that 1) the policy issues was distinctively clarified which was due to the strong political situation regarded as the part of the policy to enhance continuous and concrete policy, together with the cooperation of all government and private sectors together to propel. In addition, the government promoted and stimulated important projects to support policies such as “One Belt One Road project” that focused on the infrastructure, and then conducted patenting all items to contribute negotiating power, 2) motivation and facilitation issues supported by the government in funding support on operating business as well as facilitating various aspects such as establishing a bank in a foreign country, organizing seminar to business partners matching, and creating a guideline relating all countries in which Chinese businessmen invested, 3) international investment issues that the Chinese government participated in various key organizations around the world such as the WTO as well as ASEAN Economic Community in order to create a better and stronger relationship with many countries in terms of investment and trades, 4) national context issues which was cultivated a distinctive feature that was regarded as the strength of the Chinese society referring to succession of knowledge from ancestors and important concepts and strategies in trading. Besides, there was an effort to build a strong network both in the country and abroad in order to gather together to help each other when the problem occurred, and 5) Which is currently the 13th edition, which is environmental importance Therefore, other related issues according to the government policy as designated in the present National Economic and Social Development Plan: Edition 13 focusing on meet environmental standards. To clarify, any companies that did not meet the standard requirement were recommended to stop the business in China, and encouraged to do business abroad; however, still under the Chinese government’s support. The results from quantitative research showed that the mean and standard deviation of the level of opinions of Chinese businessmen or agents concerning the a model for promoting Chinese businessmen to invest in trading in Thailand were at high levels in all aspects (average = 3.64; SD = .629) as considered item by item from highest to lowest as follows: in political aspects, policy and promotion of the People's Republic of China in supporting Chinese investors for investing and trading in Thailand (average = 3.74; SD = .683), environmental aspect (Safety, appropriateness of investment and livelihoods) (average = 3.70; SD = .788), technological and innovative aspect (average = 3.64; SD = .864), Social and cultural aspects (average = 3.63; SD = .699), economy and investment aspects (average = 3.60; SD = .728), and laws and regulation aspect (average = 3.55; SD = .785) respectively. In summary, the quantitative research results were consistent with the qualitative research results. Chinese businessmen had a positive confidence in the politics under strong government administration that it would be able to lead to continuous improvement and stability. Then, the aspect of the suitable environment for the investment, when investing, there would be a possibility that the business would be able to proceed to success subject to conducive investment with state-of-the art technology for all business operations. In terms of society and culture, it was regarded as the influential factors affecting Chinese businessmen’s decision to invest in Thailand although there were some business groups who did not give priority to the relationship between Thailand and China. However, it could not be denied that relationships for many decades created a social foundation and cultural learning between two countries leading to current trade and investment. Finally, the laws and regulations that facilitated investment was regarded the last priority affecting Chinese businessmen’ decision to invest. That was because there was a network of associations to assist and provide crucial information. Although the Thai labor law would extremely benefit Thai workers, but it was considered worth compared to the quality they obtained.

References

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานประจำปี 2560: ทำเนียบนิคมอุตสาหกรรม. วันที่ค้นข้อมูล 11 มีนาคม 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.ieat.go.th/assets/uploads/cms/file/.pdf

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาฯ.

วีระชัย โชคมุกดา. (2555). 150 ปี ประวัติศาสตร์จียุค “ป่วยไข้” จากสงครามฝิ่นสู่มหาอำนาจโลก (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป.

สุทัศน์ นพรัตน์. (2545). ค้าขายกับจีนไม่ยากอย่างที่คิด. กรุงเทพฯ: อินฟอร์มีเดียบุ๊คส์.

สำนักความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ. (2557). รายงานการลงทุนโดยตรงของของจีนในไทย. กรุงเทพฯ: สำนักความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ.

สมภพ มานะรังสรรค์. (2551). ธุรกิจจีนในต่างแดน. กรุงเทพฯ: มติชน.

สมภพ มานะรังสรรค์. (2551). ทุนโลกบุกจีน. กรุงเทพฯ: มติชน.

หลี่ เหริน เหลียง. (2555). โอกาสในการส่งเสริมการลงทุนของจีนในไทยอย่างยั่งยืนวิเคราะห์จากมิติวัฒนธรรม. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อักษรศรี (อติสุธาโภชน์) พานิชสาส์น. (2554ก). เศรษฐกิจจีนในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์.

อักษรศรี (อติสุธาโภชน์) พานิชสาส์น. (2554ข). เส้นทางสายไหม One Belt, One Road คัมภีร์ผู้นำจีน. กรุงเทพธุรกิจ. วันที่ค้นข้อมูล 11 มีนาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/633823

Francis, J. A. (1967). Bright hup PM project management. NJ: prentice – Hall.

Thaibizchina. (2558). ยุทศาสตร์เดินไปของจีน. วันที่ค้นข้อมูล 15 มีนาคม 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/seminar/seminar5.pdf

Downloads

Published

2023-01-05