มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองผู้เสียหายที่เกิดจากผู้ทำละเมิดต่อสิ่งแวดล้อม

Legal measures on Injured Person’s Protection in Case of Environmental Wrongful Acts

Authors

  • ประทีป ทับอัตตานนท์
  • จิดาภา พรยิ่ง
  • จุฑามาศ พรหมอินทร์

Keywords:

กฎหมาย, คุ้มครองผู้เสียหาย, ผู้ทำละเมิดต่อสิ่งแวดล้อม, Law, Injured person’s protection, Environmental wrongful acts

Abstract

มลพิษจากสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลทั่วไปเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย หรือทรัพย์สิน อันเกิดจากมลพิษนั้น ผู้ที่ได้รับอันตรายจากมลพิษเหล่านี้ เป็นบุคคลถูกทำละเมิดได้รับความเสียหายตามกฎหมาย ซึ่งการดำเนินการเยียวยาของประเทศไทยใช้การฟ้องร้องคดีต่อศาลเป็นหลัก และสร้างความยุ่งยากในการดำเนินคดี และความเดือนร้อนซ้ำซ้อนให้กับบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการถูกทำละเมิดจากมลพิษสิ่งแวดล้อม การเยียวยาความเสียหายในคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย รัฐควรกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้เสียหายที่ถูกทำละเมิดให้ได้รับการเยียวยาเหมือนกับประเทศญี่ปุ่น ที่กำหนดให้รัฐมาจัดการเยียวยาผู้เสียหาย และนำแนวทางของสาธารณรัฐอินเดียในการกำหนดจัดตั้งคณะกรรมการและให้มีอำนาจในการสั่งให้ผู้ครอบครองแหล่งมลพิษต้องรับผิด ชำระค่าเสียหายแก่เหยื่อที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต สุขภาพ ทรัพย์สิน และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมลพิษสิ่งแวดล้อม รูปแบบการดำเนินคดีสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยควรดำเนินการในลักษณะของ The National Green Tribunal Act 2010 ของสาธารณรัฐอินเดีย และ การเยียวยาผู้เสียหายจากมลพิษควรเป็นไปตาม The Pollution Related Health Damage Compensation Law, Law No 111,1974 ของประเทศญี่ปุ่น  Environmental pollution leads to public damage relating to life, body, health, sanitation or property. People who suffer from the various types of pollution can be regarded as injured persons from wrongful acts according to the law. In Thailand, the procedure for compensation and remedy due to this kind of damage is mainly through prosecution in court which is complicated and troublesome for the injured persons or plaintiffs. In relation to the procedure for compensation and remedy in case of environmental wrongful acts in Thailand, the government should launch the legal measures on injured person’s protection in the same direction as those applied in Japan which provide compensation funds for health damage caused by environmental pollution. Furthermore, the legal measures on this matter applied in Indonesia by appointing an authorised committee, that can examine and consider an appropriate amount of compensation in case of life, health and property damage caused by environmental pollution, should be adopted as well. Regarding the court procedure in case of environmental lawsuits, The National Green Tribunal Act 2010 of India can be used as a model law. In addition, in terms of compensation and remedy, Thailand should establish the same standard as provided in The Pollution Related Health Damage Compensation Law, Law No 111, 1974 of Japan.

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). วันที่ค้นข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ 2561, เข้าถึงได้จาก http://moc.ocsc.go.th/sites/ default/files/03_1_khmuulthawaip_21.pdf

นัทมน คงเจริญ. (2560). กลไกทางกฎหมายในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการชดใช้เยียวยาให้ผู้เสียหาย. วันที่ค้นข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ 2561, เข้าถึงได้จาก https://greennews.agency/?p=15681

ประพจน์ คล้ายสุบรรณ. (2550). แนวคิด ทฤษฎีและหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการศาลปกครอง, 7(2), 30.

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560. (2560, 3 มีนาคม). ราชกิจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 67 ง.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2543). ทางเลือกหนึ่งในการเยียวยาผู้เสียหายจากปัญหามลพิษ. ดุลพาห, 1(43). 98-111.

The Basic Environmental Plan. (1994). วันที่ค้นข้อมูล 12 กุมภาพันธ์ 2561, เข้าถึงได้จาก https://www.env.go.jp/en/laws/policy/basic/index.html

The National Environment Tribunal Act. (1995). วันที่ค้นข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ 2561, เข้าถึงได้จาก https://law.pace.edu/sites/default/files/IJIEA/primary_sources/India_ National_Environment_T ribunal_Act_1995

The National Green Tribunal Act. (2010). วันที่ค้นข้อมูล 7 กุมภาพันธ์ 2561, เข้าถึงได้จาก http://lawmin.nic.in/ld/P-ACT/2010/A2010-19.pdf

Downloads

Published

2023-01-05