กฎหมายต้นแบบว่าด้วยธนาคารเวลาจากการสะสมเวลาเพื่อทำคุณประโยชน์แก่สังคมของผู้สูงอายุ

Law on Time Banks from Time Banking to Benefit Society of Aging People

Authors

  • ณัฏฐ์นรี ศรีสมบูรณ์
  • สุนีย์ มัลลิกะมาลย์

Keywords:

กฎหมายต้นแบบว่าด้วยธนาคารเวลา, ผู้สูงอายุ, Law on Time Banks form Time Banking, Aging People

Abstract

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยธนาคารเวลาจากการสะสมเวลาเพื่อทำคุณประโยชน์แก่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาวการณ์ผู้สูงอายุไทยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อันส่งผลต่องบประมาณของภาครัฐที่ต้องนำมาใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อทำจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ อันเป็นภารกิจที่รัฐพึงกระทำ ซึ่งปัญหาจำนวนผู้สูงอายุมีมากขึ้นในต่างประเทศเช่นเดียวกับไทย แต่ต่างประเทศได้นำรูปแบบการสะสมเวลาในธนาคารเวลาของผู้สูงอายุ ภายใต้หลักการ “ผู้สูงวัยช่วยเหลือผู้สูงวัยด้วยกันเอง” มาใช้เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดสวัสดิการเพื่อบรรเทาภาระงบประมาณในการจัดสวัสดิการของทางภาครัฐ ซึ่งการนำรูปแบบการสะสมเวลาดังกล่าวมาใช้ในไทยนั้นมีความจำเป็นต้องนำรูปแบบการสะสมเวลาของต่างประเทศมาเปรียบกับการจัดสวัสดิการของไทย และปรับรูปแบบการสะสมเวลาให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยเพื่อนำมาเป็นโครงสร้างของกฎหมายต้นแบบเพื่อรองรับการสะสมเวลาให้เป็นรูปธรรม และมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน โดยใช้วิทยาการวิจัยที่ใช้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกประชากรที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทย และประชากรในสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ การมีส่วนร่วมออกแบบ - ร่วมออกแบบของประชากรกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และนำผลการร่วมออกแบบ - ร่วมออกแบบ มาวิเคราะห์กับการทบทวนวรรณกรรมเพื่อนำมาจัดทำเป็นร่างกฎหมายต้นแบบและนำมาซึ่งการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ ผลการวิจัยพบว่า การสะสมเวลาที่จะนำมาเป็นรูปแบบในการกฎหมายต้นแบบเพื่อรองรับการสะสมเวลานั้นมีองค์ประกอบของกฎหมาย คือ องค์กรที่รับผิดชอบและบริหารจัดการการสะสมเวลา คุณสมบัติของสมาชิกในธนาคารเวลา รูปแบบ กระบวนการสะสมเวลา สิทธิประโยชน์ที่ได้จากการสะสมเวลา มาตรการส่งเสริมและความรับผิดที่เกิดขึ้นจากการสะสมเวลา ซึ่งเป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 โดยมีลำดับศักดิ์กฎหมายชั้นพระราชบัญญัตินั้นเนื่องมาจากเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ซึ่งร่างกฎหมายนี้ประกอบด้วยบทบัญญัติจำนวน 36 มาตรา แบ่งออกเป็น 1 หมวด 15 ส่วน 1 บทเฉพาะกาล อันเป็นกฎหมายที่สามารถรองรับรูปแบบการสะสมเวลา และมีการดำเนินการสะสมเวลาที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมต่อการจัดสวัสดิการเพื่อประโยชน์อย่างสูงสุดของผู้สูงอายุ ซึ่งในงานวิจัยนี้มีการจัดทำกฎหมายลำดับรองเพื่ออำนวยความสะดวกและชัดเจนในร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว หากแต่มีข้อเสนอแนะงานวิจัยว่าควรมีการหามาตรการของทางรัฐในการทำความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมาย และผู้สูงอายุในฐานะผู้มีส่วนได้เสียในการเป็นสมาชิกธนาคารเวลาเนื่องจากรูปแบบการสะสมเวลานี้เป็นรูปแบบใหม่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย อีกทั้งการดูแลผู้สูงอายุเป็นงานละเอียดอ่อนจำต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง  The objective of this research is to establish a prototype law on Time Bank to benefit aging societies in order to solve a problem of the overpopulation of the elderly in Thailand, affecting the government budget in providing public services especially for the elderly which is a basic mission the state shall perform. The problem of the increase of the number of the elderly exists in foreign countries as well. However, those countries have adopted a time accumulation scheme under the concept in which the elderly is able to help one another as a measure in arranging social welfare to mitigate a burden of the government budget for the elderly. In order to apply the time accumulation scheme in Thailand, it is necessary to compare such scheme with the Thai social welfare and to adjust such scheme to perfectly fit in the Thai society. Then, it will be used as a structure of the prototype law to support the time accumulation scheme with clear guidelines by using a qualitative research consisting of a documentary research, in-depth interviews of the citizens of Thailand and those of the Confederation of Switzerland, the participation in design and co-design of interested people. The result of the design and co-design, as the opinions of people in relation to the social welfare for the elderly, will be analyzed with a literature review to prepare a prototype law. As a result of the research, the time accumulation scheme used in drafting a prototype law contains several legal elements which are a responsible organization dealing with the accumulation of time, qualifications of members in Time Bank, a form, a time accumulation process, benefits from accumulating time, promotion measures and liabilities from accumulating time. The Social Welfare Promotion Act, B.E.2546 which consists of 36 sections, divided into 1 category 15 parts 1 transitory provision, is a regulation that supports the time accumulation measure and indicates a clear and materialistic operation of time accumulation to provide a social welfare for the benefits of the elderly. In this research, a secondary law has been established to be more transparent and to facilitate in drafting the law. A suggestion is to find a state measure in explaining and discussing with people relating to the law enforcement and also the elderly as stakeholders, members of Time Bank, since the form of the accumulation of time is new to Thailand, also, good knowledge and understanding are required in taking care of the elderly due to its delicateness.

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539. (2539, 27 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอนที่ 42 ก.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2545, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก.

พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ .ศ. 2494. (2494, 11 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 68 ตอนที่ 24.

พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533. (2533, 1 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 107 ตอนที่ 161 ก.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. (2546, 31 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 130 ก. พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546. (2546, 1 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 94 ก. หน้า 6.

ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). (2561). วันที่ค้นข้อมูล 19 เมษายน 2561, เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/file/d/1XSBMp8OCsauJqECOB-XZLB91-cRrNsEV/view

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.

ศรีทับทิม พานิชพันธ์ .(2538). สิทธิและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยและนานาชาติ.กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษารูปแบบการให้บริการ การบริหารและการจัดการที่พักสำหรับผู้สูงอายุ. วันที่ค้นข้อมูล 19 เมษายน 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.dop.go.th/download/ knowledge/th1512636145-109 pdf

Published

2023-01-05