ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทย: ภาคอุตสาหกรรม
Energy Security Strategy of Thailand: Industrial Sector
Keywords:
ความมั่นคง, ความมั่นคงพลังงาน, ภาคอุตสาหกรรมกับความมั่นคงพลังงานของประเทศไทย, Security, Security Energy, Security Industrial Sector with Energy Security of ThailandAbstract
ความมั่นคงพลังงานเป็นประเด็นท้าทายต่อประเทศต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย เนื่องจากพลังงานมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งพลังงานมีลักษณะเฉพาะ เนื่องจากพลังงานประเทศที่มีแหล่งพลังงานนั้นมีจำนวนน้อย แต่ในขณะที่ประเทศผู้บริโภคนั้นมีจำนวนมากและมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ ประเทศไทยเมื่อแบ่งภาคส่วนที่บริโภคพลังงานแล้ว ภาคอุตสาหกรรมบริโภคพลังงานมากที่สุด และภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคส่วนที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทางเศรษฐกิจ จึงทำให้พลังงานมีความสำคัญในฐานะปัจจัยการผลิต ต้นทุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ พลังงานจึงเปรียบเสมือนโครงสร้างพื้นฐานประเภทหนึ่ง และเป็นประเด็นความมั่นคงจากการมีแหล่งพลังงานภายในประเทศจำกัด ไม่เพียงพอ และพึ่งพาจากต่างประเทศที่สะท้อนถึงปัญหาความมั่นคงพลังงานที่เกิดทั้งจากปัจจัยภายในประเทศและปัจจัยภายนอกประเทศ ฉะนั้นประเทศไทยจึงต้องมีการวางยุทธศาสตร์ นโยบายที่เหมาะสมเพื่อการสนับสนุนความมั่นคงพลังงานของประเทศ Energy security is a challenge for many countries not even Thailand. Since energy is associated with the development of countries related to economic development. Including specific energy, because it has energy limit source. But while the consumer country is growing and there is a growing demand. Most energy consuming industries sector and the industrial sector is an important of economic development in the country. Energy is important as a factor. It was a cost of production in industry and to respond to economic development. Energy is a kind of infrastructure. It is a matter of security because of insufficient domestic energy sources and relate with foreign countries. This reflects energy security issues arising both from domestic factors and external factors. Therefore, Thailand must have a strategy and appropriate policies to support the country's energy security.References
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). สถานการณ์พลังงาน. ม.ป.ท.
นเรศน์ วงศ์สุวรรณ, พันเอก. (2553). การทบทวนแนวคิด การปฏิรูปและการบริหารจัดการภาคส่วนความมั่นคงในประเทศไทย. วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2560, เข้าถึงได้จาก https://www.sscthailand.org/uploads_ssc/ rethinkingthesecuritysectorsreformandgovernanceinthailand.pdf
นักวิชาการด้านความมั่นคงศึกษา. (27 กรกฎาคม 2560). สัมภาษณ์.
ผู้แทนบริษัทผลิตและจำหน่ายพลังงานของประเทศ. (25 กรกฎาคม 2560). สัมภาษณ์.
ผู้แทนภาคความมั่นคง. (14 มีนาคม 2560). สัมภาษณ์.
ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (15 พฤศจิกายน 2560). สัมภาษณ์.
ผู้แทนสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (17 มกราคม 2561). สัมภาษณ์.
พรายพล คุ้มทรัพย์. (ม.ป.ป.). การใช้พลังงานกับเศรษฐกิจไทยในช่วงสองทศวรรษ. วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2560, เข้าถึงได้จาก https://prachachat.net. http://www.energyvision.co.th/14240396
ภูวิน บุณยะเวชชีวิน. (2558). ทฤษฎีความมั่นคงประกิต: บทปริทัศน์เบื้องต้น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา, 3(2).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก.
สถานการณ์พลังงาน. (ม.ป.ป.). วันที่ค้นข้อมูล 27 กุมภาพันธ์ 2560, เข้าถึงได้จาก http://www.energyvision.co.th/14240396/
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). กรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี.
สุรชาติ บำรุงสุข. (2554). ความมั่นคงร่วมสมัย. จุลสารความมั่นคงศึกษา, 99-102(ตุลาคม-ธันวาคม).
Dariusz, C., Lukasz, N. Sobanski, J. (2012). Securitization of Energy Security in Central Asia. The Copernicus Journal of Political Studies, 2(2).
Energy Demand Outlook. (2009). n.p.
Heywood, A. (2013). Politics (Fourth edition). UK: Palgrave Macmilan.
International Energy Agency. (2016). World Energy Trends Except from: Energy Balances of Non OECD Countries. n.p.
Waever, O. (2011). Security Study. New York: A Reader Routledge.